วันอาทิตย์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ความหลากหลาย

 

7.ความหลากหลาย (diversity) กับเศรษฐกิจสังคม






    ความหลากหลาย หมายถึง การดำรงอยู่ของความแตกต่าง และหลากหลายของสิ่งมีชีวิตและวัฒนธรรม เป็นสภาพที่ช่วยให้ระบบนิเวศและระบบวัฒนธรรมปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงได้ดี เวลามีปัญหาสามารถฟื้นคืนกลับสู่สภาพปกติได้ดีกว่า สภาพที่มีความหลากหลายจำกัด (วิทยากร เชียงกูล. อธิบายศัพท์สังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา: สาย ธาร. 2550) เช่น การทำให้การผลิตและการบริโภค เป็นแบบทุนนิยมอุตสาหกรรมตะวันตกเหมือนกันทั่วโลก การปลูกพืชเชิงเดี่ยวเพื่อการส่งออก ฯลฯ

ความหลากหลายของการมีสิ่งมีชีวิตต่างเผ่าพันธุ์ ต่างพันธุกรรมกันมาก และความหลากหลายทางวัฒนธรรม ทางชีวภาพ ทางสังคมและทางเศรษฐกิจ เป็นใจกลางของการมีชีวิตที่มีศักดิ์ศรี น่าสนใจและมีสุขภาพที่ดี
ความหลากหลายเป็นกุญแจของความเข้มแข็ง ความทนทาน การต่อสู้ การปรับตัวได้ดี ความมีชีวิตชีวา การฟื้นตัวได้เร็ว และความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ของระบบสิ่งมีชีวิตทุกสิ่ง รวมทั้งสังคมมนุษย์ การที่มนุษย์มีประสบการณ์และวัฒนธรรมที่หลากหลาย ทำให้เกิดคลังของยีนทางวัฒนธรรม ที่ช่วยยกระดับความสำเร็จทางสังคม ภูมิปัญญาและจิตใจของมนุษย์ให้สูงขึ้นไป นำไปสู่การสร้างชุมชนที่มีอัตลักษณ์และมีความหลากหลาย

ความหลากหลายทางเศรษฐกิจ

เป็นพื้นฐานของเศรษฐกิจท้องถิ่นแบบพึ่งตนเอง ที่มีความยืดหยุ่น ความมั่นคง และใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ

ความหลากหลายทางชีวภาพ 

 (การมีเผ่าพันธุ์ พันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตที่แตกต่างกันมากมาย) เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับกระบวนการของระบบนิเวศที่มีลักษณะซับซ้อน ควบคุมดูแลตนเอง ฟื้นฟูสร้างตัวเองได้ใหม่ ที่ชีวิตทั้งมวลและความมั่งคั่งในโลกต้องพึ่งพา
แต่บรรษัทข้ามชาติของโลก ทำทุกอย่างที่จะทำลายความหลากหลาย เพื่อเพิ่มผลกำไรของตน พวกเขาหาทางลดต้นทุนการผลิตสินค้าและเพิ่มการควบคุมตลาด โดยการทำให้การผลิตและการทำงาน เป็นเรื่องเฉพาะทางแบบเดียวกัน และกำจัดสายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตที่ไม่ทำกำไรให้พวกเขา บรรษัทข้ามชาติทำกำไรโดยการใช้ประโยชน์จากการผลิตขนาดใหญ่ ลดค่าใช้จ่ายด้านการบริหารจัดการ และทำให้ปัจเจกชนและชุมชน ต้องพึ่งพาสินค้าและบริการของบรรษัทเพิ่มขึ้น
บรรษัทข้ามชาติสร้างยี่ห้อสินค้าของพวกเขา ให้มีชื่อเสียงจนคนนิยมใช้ทั่วโลก มาแทนที่วัฒนธรรมท้องถิ่น และทำให้ประชาชนผู้เคยทำมาหากินเลี้ยงตัวเองได้ ด้วยการใช้แรงงาน ทรัพยากร และการประกอบการในท้องถิ่น เพื่อสนองความต้องการของท้องถิ่น ต้องไปพึ่งพาการขายแรงงานและทรัพยากรให้กับบรรษัทข้ามชาติของนายทุนเอกชนจาก ดินแดนห่างไกล ที่ประชาชนในท้องถิ่นไม่สามารถควบคุมได้
บรรษัทข้ามชาติทำลายความหลากหลายทางชีวภาพ ด้วยการส่งเสริมการปลูกธัญพืช ผัก และผลไม้บางอย่างที่เหมาะกับการปลูกขนานใหญ่แบบอุตสาหกรรม โดยใช้ปุ๋ย ยาปราบศัตรูพืช และการตกแต่งพันธุกรรม พันธุ์ไม้พื้นเมืองถูกทำลายหรือทอดทิ้ง ประชาชนซึ่งเคยเพาะปลูกหรือเข้าป่าไปหาของกินของใช้จากธรรมชาติได้โดยไม่ เสียเงินปัจจุบันต้องซื้อหาผลผลิตเหล่านี้ ในร้านค้าปลีกแบบเครือข่ายซุปเปอร์มาร์เก็ต ที่เก็บเกี่ยวกำไรโดยบรรษัทข้ามชาติ

 ตัวอย่างวิดีโอ















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น