วันอาทิตย์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ความเป็นพลเมืองโลก




  8.ความเป็นพลเมืองโลก

 

 

สถาบันทางสังคม

ความหมายของสถาบันทางสังคม
    หมายถึง แบบอย่างพฤติกรรมที่ตั้งขึ้นและปฏิบัติสืบต่อกันมาและเป็นที่ยอมรับในสังคม ประเพณีต่าง ๆ สถาบันครอบครัว สถาบันเศรษฐกิจ สถาบันการศึกษา

มีองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการ คือ
1. บุคคล คือ เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ หมายถึงบุคคลที่ได้จัดระเบียบแล้ว เช่น มีสถานภาพ มีบทบาท มีการควบคุมทางสังคม มีการจัดระเบียบสังคมและมีค่านิยม
2. หน้าที่ของสถาบันทางสังคม คือ วัตถุประสงค์ในการสนองความต้องการของสังคม
3. แบบแผนการปฏิบัติ หรือ พฤติกรรม คือ กฎเกณฑ์ บรรทัดฐาน ที่เป็นแนวทางในการปฏิบัติของสมาชิกในสังคม
 
 
ประเภทของสถาบันทางสังคม

สถาบันครอบครัว
1. องค์การทางสังคม แบ่งออกเป้น 2 ประเภท คือ
    1.1 ครอบครัวเดี่ยว คือ ครอบครัวที่ประกอบด้วย พ่อ แม่ ลูก
    1.2 ครอบครัวขยาย คือ ครอบครัวขนาดใหญ่ ประกอบด้วย พ่อ แม่ ลูกและญาติ ๆ
2. หน้าที่ สร้างสรรค์สมาชิกใหม่ เลี้ยงดูผู้เยาว์ ให้ความรักความอบอุ่น อบรมสั่งสอนและกำหนดสถานภาพทางสังคม
3. แบบแผนการปฏิบัติ คือ ให้แนวทางในการปฏิบัติต่อกันในครอบครัว
 
สถาบันการศึกษา  ทำหน้าที่ ถ่ายทอดความรู้ ความคิดให้แก่สมาชิกในสังคมเพื่อให้สังคมมีความเจริญก้าวหน้า รู้จักในการแก้ปัญหาด้วยหลักและวิธีการอันเหมาะสม
1. องค์การทางสังคม ได้แก่ กลุ่มคนที่ทำงานในกระทรวงศึกษาธิการ ทบวงมหาวิทยาลัย สภาการศึกษา กลุ่มครู อาจารย์
2. หน้าที่ ของสถาบันการศึกษา
    2.1 การพัฒนาคน
    2.2 การให้ความรู้ ความเข้าใจ และความสำนึกแห่งความเป็นมนุษย์
    2.3 การสอน และการส่งเสริมในด้านวิชาชีพและศิลปวัฒนธรรม
    2.4 จัดแหล่งความรู้และวิทยาการที่อำนวยความสะดวกต่อสังคม
3. แบบแผนการปฏิบัติ คือ การจัดการเกี่ยวกับการศึกษา และการวางมาตราฐานการศึกษา
 
สถาบันศาสนา  เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม ประกอบด้วย 3 ประการ คือ ความเชื่อ การแสดงออก ความรู้สึกทางอารมณ์
องค์ประกอบของสถาบันศาสนา
1. องค์การทางสังคม เช่น กลุ่มเจ้าอาวาส กลุ่มพระ กลุ่มชี กลุ่มบาทหลวง
2. หน้าที่ของสถาบันทางการศาสนา
    - การให้การอบรมสั่งสอน
    - การปกป้อง คุ้มครอง
    - การรักษากฎ ศีลธรรมของสังคม
    - การขัดเกลาพฤติกรรมเบี่ยงเบนทางสังคม
3. แบบแผนการปฏิบัติ เช่น การปฏิบัติตามบทบัญญัติ หลักธรรม ประเพณี
 
สถาบันเศรษฐกิจ  เป็นสถาบันเกี่ยวกับความอยู่รอดของมนุษย์ในการดำรงชีวิตในสังคม
องค์ประกอบของสถาบันเศรษฐกิจ
1. องค์การทางสังคม ได้แก่ กลุ่มที่ทำงานในธนาคาร บริษัท ห้างร้าน โรงงาน
2. หน้าที่ของสถาบันทางเศรษฐกิจ
    - สนองความต้องการทางเศรษฐกิจ
    - จัดอำนวยความสะดวกในทางเศรษฐกิจ
    - พัฒนาความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ
    - ช่วยเหลือเกื้อกูลให้มีการบริโภคอย่างเพียงพอและทั่วถึง
3. แบบแผนการปฏิบัติ ได้แก่ การจัดระบบทรัพย์ มีเงื่อนไขสัญญา การอาชีพ การแลกเปลี่ยนและการตลาด
 
สถาบันทางการเมืองการปกครอง
องค์ประกอบของสถาบันการเมืองการปกครอง
1. องค์การทางสังคม ได้แก่ พระบรมวงศานุวงศ์ และรัฐบาล ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ราษฎร
2. หน้าที่ของสถาบันการเมืองการปกครอง
    - รักษาความสงบเรียบร้อย
    - ระงับข้อขัดแย้งระหว่างบุคคล
    - คุ้มครองบุคคลให้ได้รับความปลอดภัย
3. แบบแผนการปฏิบัติ ได้แก่ การจัดให้มีกฎหมายต่าง ๆ เป็นแนวทางในการปฏิบัติ เช่นกฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายอาญา กฎหมายแพ่งและพาณิชย์

 

ตัวอย่างวิดีโอ
 
 
 
 

ความหลากหลาย

 

7.ความหลากหลาย (diversity) กับเศรษฐกิจสังคม






    ความหลากหลาย หมายถึง การดำรงอยู่ของความแตกต่าง และหลากหลายของสิ่งมีชีวิตและวัฒนธรรม เป็นสภาพที่ช่วยให้ระบบนิเวศและระบบวัฒนธรรมปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงได้ดี เวลามีปัญหาสามารถฟื้นคืนกลับสู่สภาพปกติได้ดีกว่า สภาพที่มีความหลากหลายจำกัด (วิทยากร เชียงกูล. อธิบายศัพท์สังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา: สาย ธาร. 2550) เช่น การทำให้การผลิตและการบริโภค เป็นแบบทุนนิยมอุตสาหกรรมตะวันตกเหมือนกันทั่วโลก การปลูกพืชเชิงเดี่ยวเพื่อการส่งออก ฯลฯ

ความหลากหลายของการมีสิ่งมีชีวิตต่างเผ่าพันธุ์ ต่างพันธุกรรมกันมาก และความหลากหลายทางวัฒนธรรม ทางชีวภาพ ทางสังคมและทางเศรษฐกิจ เป็นใจกลางของการมีชีวิตที่มีศักดิ์ศรี น่าสนใจและมีสุขภาพที่ดี
ความหลากหลายเป็นกุญแจของความเข้มแข็ง ความทนทาน การต่อสู้ การปรับตัวได้ดี ความมีชีวิตชีวา การฟื้นตัวได้เร็ว และความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ของระบบสิ่งมีชีวิตทุกสิ่ง รวมทั้งสังคมมนุษย์ การที่มนุษย์มีประสบการณ์และวัฒนธรรมที่หลากหลาย ทำให้เกิดคลังของยีนทางวัฒนธรรม ที่ช่วยยกระดับความสำเร็จทางสังคม ภูมิปัญญาและจิตใจของมนุษย์ให้สูงขึ้นไป นำไปสู่การสร้างชุมชนที่มีอัตลักษณ์และมีความหลากหลาย

ความหลากหลายทางเศรษฐกิจ

เป็นพื้นฐานของเศรษฐกิจท้องถิ่นแบบพึ่งตนเอง ที่มีความยืดหยุ่น ความมั่นคง และใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ

ความหลากหลายทางชีวภาพ 

 (การมีเผ่าพันธุ์ พันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตที่แตกต่างกันมากมาย) เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับกระบวนการของระบบนิเวศที่มีลักษณะซับซ้อน ควบคุมดูแลตนเอง ฟื้นฟูสร้างตัวเองได้ใหม่ ที่ชีวิตทั้งมวลและความมั่งคั่งในโลกต้องพึ่งพา
แต่บรรษัทข้ามชาติของโลก ทำทุกอย่างที่จะทำลายความหลากหลาย เพื่อเพิ่มผลกำไรของตน พวกเขาหาทางลดต้นทุนการผลิตสินค้าและเพิ่มการควบคุมตลาด โดยการทำให้การผลิตและการทำงาน เป็นเรื่องเฉพาะทางแบบเดียวกัน และกำจัดสายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตที่ไม่ทำกำไรให้พวกเขา บรรษัทข้ามชาติทำกำไรโดยการใช้ประโยชน์จากการผลิตขนาดใหญ่ ลดค่าใช้จ่ายด้านการบริหารจัดการ และทำให้ปัจเจกชนและชุมชน ต้องพึ่งพาสินค้าและบริการของบรรษัทเพิ่มขึ้น
บรรษัทข้ามชาติสร้างยี่ห้อสินค้าของพวกเขา ให้มีชื่อเสียงจนคนนิยมใช้ทั่วโลก มาแทนที่วัฒนธรรมท้องถิ่น และทำให้ประชาชนผู้เคยทำมาหากินเลี้ยงตัวเองได้ ด้วยการใช้แรงงาน ทรัพยากร และการประกอบการในท้องถิ่น เพื่อสนองความต้องการของท้องถิ่น ต้องไปพึ่งพาการขายแรงงานและทรัพยากรให้กับบรรษัทข้ามชาติของนายทุนเอกชนจาก ดินแดนห่างไกล ที่ประชาชนในท้องถิ่นไม่สามารถควบคุมได้
บรรษัทข้ามชาติทำลายความหลากหลายทางชีวภาพ ด้วยการส่งเสริมการปลูกธัญพืช ผัก และผลไม้บางอย่างที่เหมาะกับการปลูกขนานใหญ่แบบอุตสาหกรรม โดยใช้ปุ๋ย ยาปราบศัตรูพืช และการตกแต่งพันธุกรรม พันธุ์ไม้พื้นเมืองถูกทำลายหรือทอดทิ้ง ประชาชนซึ่งเคยเพาะปลูกหรือเข้าป่าไปหาของกินของใช้จากธรรมชาติได้โดยไม่ เสียเงินปัจจุบันต้องซื้อหาผลผลิตเหล่านี้ ในร้านค้าปลีกแบบเครือข่ายซุปเปอร์มาร์เก็ต ที่เก็บเกี่ยวกำไรโดยบรรษัทข้ามชาติ

 ตัวอย่างวิดีโอ















การพัฒนาที่ยั่งยืน





6.การพัฒนาที่ยั่งยืน






การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development) หมายถึง “การตอบสนองความต้องการของคนรุ่นปัจจุบัน โดยไม่มีผลกระทบในทางลบต่อความต้องการของคนรุ่นต่อไปในอนาคต”

เนื่อง จากทุกครั้งที่มีการตอบสนองความต้องการของคนรุ่นปัจจุบัน ต้องมีการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะส่งผลกระทบในทางลบต่ออนาคต การพัฒนาที่ยั่งยืนจึงเป็นแนวคิดในการแก้ปัญหานี้ โดยการพยายามอนุรักษ์ธรรมชาติไว้ในลักษณะที่เป็นส่วนรวมหรือมหภาค คือ หากมีความจำเป็นที่จะดำเนินการให้กระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมในที่ใดที่หนึ่ง ก็จะต้องเสริมสร้างคุณภาพสิ่งแวดล้อมในที่อื่นๆ เป็นการชดเชยเพื่อให้ในแง่มหภาคของคุณภาพสิ่งแวดล้อมคงอยู่ได้ดังเดิม


การพัฒนาที่ยั่งยืน: การพัฒนายุคโลกาภิวัตน์

กระ แสโลกาภิวัตน์ (Globalization) ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และกลไกการตลาด ก่อให้เกิดการเติบโต การผลิต การบริโภคที่เป็นผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม ชีวิตมนุษย์ สัตว์ และพืชพรรณ ดังนั้น การที่มนุษย์ยังคงใช้แนวทางพัฒนาแบบเก่าซึ่งไม่คำนึงถึงข้อจำกัดในการพัฒนา อันหมายถึง ข้อจำกัดด้านสภาพ ความสามารถที่จะรองรับการบริโภค และการใช้ประโยชน์จากโลก และเมื่อทุกสิ่งทุกอย่างที่จะนำมาบริโภค และใช้ประโยชน์หมดลง อีกไม่นานทุกชีวิตบนโลกจะต้องจบสิ้น เพราะมนุษย์จะไม่สามารถอาศัยอยู่บนโลกได้อีกต่อไป การพัฒนาที่ยั่งยืน จึงเป็นแนวคิดเพื่อป้องกันมิให้โลกต้องเดินไปสู่จุดจบ


มาตรการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

ความ ล้มเหลวของการพัฒนาแบบดั้งเดิมที่ผ่านมา นอกจากจะทำลายสิ่งแวดล้อม ชีวิตมนุษย์ สัตว์ และพืชพรรณแล้ว ยังพบว่าการพัฒนาเศรษฐกิจของหลายประเทศ ได้สร้างปัญหาให้กับความเป็นอยู่ของมนุษย์ และวัฒนธรรมท้องถิ่นอย่างมหาศาล เนื่องจากรัฐบาลไม่รับผิดชอบ ไม่ฉับไวต่อการตอบสนองความต้องการของประชาชน ระบบราชการมีคอร์รัปชันสูง ขาดประสิทธิภาพ ไม่มีความโปร่งใส ฯลฯ

นานา ชาติจึงได้ประชุมร่วมกันเพื่อแสวงหาแนวคิดที่เป็นกลางที่สุดมาเยียวยา ภัยพิบัติที่เกิดขึ้น ผลสรุปที่ได้คือ ทั่วโลกควรปรับเปลี่ยนแนวทางการพัฒนาเสียใหม่ โดยจะต้องยกเลิกการพัฒนาซึ่งรัฐเป็นผู้ชี้นำและออกคำสั่งแต่เพียงฝ่ายเดียว ในลักษณะ รัฐประชาชาติ (Nation State) โดยปรับเปลี่ยนเป็น ประชารัฐ (Civil State) ซึ่งเป็น “ความสัมพันธ์รูปแบบใหม่ระหว่างรัฐกับประชาชนในลักษณะที่เป็นประชาสังคม”

ประชาสังคม หรือ Civil Society คือ การพัฒนาที่เกิดขึ้นจากความริเริ่มของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน โดยทุกฝ่ายในสังคมต่างให้ความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน คำว่า “ ประชารัฐ ” จึงหมายถึง รัฐซึ่งมีรัฐบาล เอกชน และประชาชนร่วมมือกันในทุกเรื่องที่เป็นสาธารณะ นั่นเอง

ดัง นั้น การที่แนวคิดเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืนจะสำเร็จลงได้หรือไม่อย่างไรนั้น ทุกประเทศจะต้องร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด และที่สำคัญ รัฐบาลในหลายๆ ประเทศจะต้องปรับเปลี่ยนมุมมองเสียใหม่ จากที่เคยมองว่ารัฐบาลเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยแทนประชาชน รัฐบาลจึงสามารถควบคุมและครอบงำประชาชนให้ปฏิบัติตามคำสั่งได้ มาเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนหรือชุมชนมีส่วนร่วม ทั้งในระดับการร่วมรับรู้การตัดสินใจขององค์กรของรัฐ และในระดับการร่วมตัดสินใจ และจะต้องมีการตกลงกันให้ชัดเจนว่าสัดส่วนของบทบาทภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนในการพัฒนานั้นควรจะเป็นลักษณะใด หรือที่เรียกว่า “ประชารัฐ” นั่นเอง

และเพื่อให้การพัฒนาที่ยั่งยืนสามารถแทรกเข้าไปในทุกส่วน ของสังคมโลก เมื่อเริ่มต้นทศตวรรษที่ 1980 องค์การสหประชาชาติ จึงเสนอให้ประเทศกำลังพัฒนาที่ประสบความล้มเหลวในการพัฒนาตามที่กล่าวมาข้าง ต้น เร่งปฏิรูประบบเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการปฏิรูปการเมือง การบริหาร การศึกษา การขจัดและลดความยากจน การส่งเสริมให้มีการบูรณาการทางการผลิต ทางการเกษตร การสร้างงาน ที่พอเพียงกับการเติบโตของประชากร การพิทักษ์สิ่งแวดล้อม และการลดอัตราการขยายตัวของประชากร ฯลฯ โดยนำระบบการจัดการที่ดี มาใช้เป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาเพื่อให้การพัฒนามีภาพของอนาคตที่เป็นรูปธรรม วิธีการดังกล่าวนั้นเรียกว่า ธรรมาภิบาล ธรรมรัฐ การสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี หรือ Good Governance

โดยความหมายของ “ Good Governance ” นี้ แต่เดิมธนาคารโลก หรือ World Bank ได้ให้คำนิยามไว้ว่า หมายถึง “ลักษณะและวิถีทางของการใช้อำนาจรัฐในการจัดการทรัพยากรทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเพื่อการพัฒนา”

ส่วน Commission on Global Governance ได้ให้คำนิยามคำว่า “Governance” ไว้ในเอกสารชื่อ Our Global Neighbourhood ว่า หมายถึง ผลลัพธ์ของการจัดการกิจกรรม ซึ่งบุคคลและสถาบันทั้งภาครัฐและเอกชนมีผลประโยชน์ ได้กระทำลงในหลายทิศทาง โดยมีลักษณะเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจจะนำไปสู่การผสมผสานผลประโยชน์ที่หลากหลายและขัดแย้งกันได้ ด้วยการร่วมมือกันจัดการในเรื่องนั้น

วิธีการจัดการดังกล่าว UNDP ได้นำเสนอไว้ 7 ประการ โดยกล่าวไว้ว่า องค์ประกอบทั้ง 7 ประการต่อไปนี้ ควรถูกกำหนดเป็นยุทธศาสตร์ในการพัฒนาของประเทศโลกที่ 3 ซึ่งได้แก่

1. ประชาชน จะต้องยอมรับในความชอบธรรมของรัฐบาล (Legitimacy) และ รัฐบาลจะต้องมีความรับผิดชอบต่อประชาชนในกิจการที่ได้กระทำลงไป (Accountability)

2. ประชาชนจะต้องมีอิสระเสรีภาพในการรวมกลุ่ม และในการมีส่วนร่วม (Freedom of Association and Participation)

3. จะ ต้องมีกรอบแห่งกฎหมายที่ชัดเจน และเป็นระบบที่ก่อให้เกิดสภาวะที่มั่นคง เป็นหลักประกันต่อชีวิตและการทำงานของพลเมือง รวมทั้งเป็นสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อผู้ประกอบการ และเกษตรกร นอกจากนี้ กฎหมายจะต้องปฏิบัติต่อประชาชนอย่างเสมอหน้ากัน ทั้งนี้โดยกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ จะต้องเปิดเผยเป็นที่รู้กันล่วงหน้า ต้องมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด มีวิธีการที่ประกันการบังคับใช้กฎหมาย การตัดสิน ข้อขัดแย้งต้องเป็นการตัดสินใจโดยฝ่ายตุลาการที่เป็นอิสระและเชื่อถือได้ รวมถึงจะต้องมีกระบวนการในการเปลี่ยนแปลงกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ ได้ เมื่อหมดประโยชน์ ใช้สอย

4. ระบบราชการจะต้อง รับผิดชอบต่อการดำเนินกิจการต่างๆ (Bureaucratic Accountability) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการจัดการงบประมาณของรัฐซึ่งจะต้องมีการควบคุม ติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานทั้งของรัฐและบุคลากร เพื่อป้องกันมิให้ใช้ทรัพยากรโดยมิชอบ ทั้งนี้จะต้องมีความโปร่งใส (Transparency) ในการปฏิบัติราชการทุกระดับ

5. จะ ต้องมีข้อมูลข่าวสารที่น่าเชื่อถือ โดยรัฐบาลจะต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้าถึงข้อมูลข่าวสาร เช่น ด้านรายได้ประชาชาติ ดุลการชำระเงิน สภาพการจ้างงาน และดัชนีค่าครองชีพเป็นต้น

6. จะต้องมีการบริหารงานภาครับอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล

7. จะ ต้องมีความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างรัฐบาลกับองค์กรของประชาสังคม ซึ่งหมายถึง องค์กรประชาชน (People's organization) และองค์กรอาสาสมัครเอกชน (NGOs)

องค์ประกอบที่กล่าวมาข้างต้นเป็น มิติใหม่ของการจัดการพัฒนาโดยเน้นคนเป็นศูนย์กลาง เป็นแนวทางที่ทุกส่วนในโลกจะต้องผนึกกำลังให้เป็นกระแสหลัก โดยจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านโลกทัศน์ของผู้นำทุกระดับ (ทั้งภูมิภาค ชาติ ชุมชน) ไปเป็น แบบพหุนิยมองค์รวม (Holistic Pluralism) ด้วย มิใช่เอกนิยมองค์รวม

สำหรับ ประเทศไทย นักคิด นักวิชาการ ได้ร่วมกันเปิดเวทีความคิด แถลง และตีความแนวคิดเรื่องธรรมรัฐ จนกระทั่งถูกนำไปกำหนดไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540 - 2544) ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาประชารัฐ ได้อาศัยหลักคิดดังกล่าวเป็นแนวทางสำคัญในการประยุกต์ใช้ยุทธศาสตร์สำคัญ ในการพัฒนาสังคมไทยให้มีความเข้มแข็งมากกว่าที่เป็นอยู่ โดยเฉพาะการเน้นสิทธิเสรีภาพ การมีส่วนร่วมของประชาชน การพัฒนาประสิทธิภาพของรัฐ และระบบราชการ ให้เกิดความโปร่งใสและตรวจสอบได้

และ หากพิจารณาประกอบกับโครงสร้างของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปี 2540 แล้ว จะพบว่า “หลักธรรมรัฐ” ได้ถูกบรรจุไว้อย่างชัดเจนในเรื่องต่างๆ เช่น การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน การให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองและตรวจสอบการให้อำนาจรัฐเพิ่มขึ้น ตลอดทั้งปรับปรุงโครงสร้างทางการเมืองให้มี เสถียรภาพและประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

นอกจากนี้รัฐบาลยังได้มอบให้ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาในการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดีตาม แนวทางธรรมรัฐ (Good Governance)

จนกระทั่งสำนักงาน ก.พ. ได้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาเรื่องนี้เป็นวาระแห่งชาติ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้ประชุม เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2542 ลงมติเห็นชอบวาระแห่งชาติ สำหรับการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี ตามที่สำนักงาน ก.พ. เสนอ และออกเป็นระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้าน เมืองและสังคมที่ดี พ.ศ. 2542 โดยกำหนดให้หน่วยงานของรัฐทุกแห่ง จัดทำแผน และโครงการในการปรับปรุงงานที่รับผิดชอบให้สอดคล้องกับหลักธรรมาภิบาล
ซึ่ง หลักธรรมาภิบาล 6 ประการ ตามแนวทางของสำนักงาน ก.พ. ได้แก่
- หลักนิติธรรม
- หลักคุณธรรม
- หลักความโปร่งใส
- หลักการมีส่วนร่วม
- หลักความรับผิดชอบ
- และหลักความคุ้มค่า
และให้สำนักงาน ก.พ. รวบรวมและประเมินผลเพื่อรายงานต่อคณะรัฐมนตรีต่อไป

ตัวอย่างวิดีโอ





 




ความขัดแย้ง


5.ความขัดแย้ง




   ในแต่ละวันเราจะพบกับความขัดแย้ง และข่าวของความขัดแย้งทั้งในองค์การ และสังคมทั่ว ๆ ไป ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ตลอดจนระหว่างประเทศ ความขัดแย้งเป็นสิ่งที่ไม่มีใครปรารถนา แต่ก็เป็นสิ่งที่ยากจะหลีกเลี่ยงพ้น ตราบใดที่มนุษย์ยังมีชีวิตอยู่และอยู่ร่วมกับคนอื่นในสังคมดังที่เหมาเจ๋อตง กล่าวไว้ว่า ไม่มีสิ่งใดที่ไม่มีความขัดแย้ง ไม่มีความขัดแย้งก็ไม่มีโลก ดังนั้นผู้เขียนจึงเสนอบทความนี้เพื่อท่านผู้อ่านได้ทำความเข้าใจในเรื่อง ความหมาย และแนวคิดเกี่ยวกับความขัดแย้ง อันนำไปสู่การปรับแนวคิดให้ทำงานร่วมกันได้อย่างมีความสุขถึงแม้ว่าจะมีความ ขัดแย้งกัน 


ความหมายของความขัดแย้ง 

       ความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 ขัดแย้ง (หน้า 137) เป็นคำกิริยา หมายถึง ไม่ทำตาม ฝ่าฝืน ขืนไว้ แย้งกัน ไม่ลงรอยกัน(หน้า 675) เป็นคำกิริยา หมายถึง ไม่ตรงหรือลงรอยเดียวกัน ต้านไว้ ทานไว้ 
       สรุปความว่า ความขัดแย้ง หมายถึง การกระทำที่ไม่ลงรอย ขัดขืน หรือต่อต้านกัน 
       พจนานุกรมของเวบสเตรอร์ (Webster’s Ninth New Collegiate Dictionary) ได้ให้ความหมายของคำว่า ความขัดแย้ง (Conflict) ไว้ดังนี้       
1.การต่อสู้ การรบพุ่ง การสงคราม                   
2.การแข่งขันหรือการกระทำที่ตรงกันข้าม (ซึ่งสืบเนื่องมาจาก ความต่างกันในเรื่องความคิดเห็น ความสนใจ หรือบุคลิกภาพ ความคับข้องใจ ซึ่งเกิดมาจากความปรารถนาแรงขับ ความต้องการที่ขัดกันทั้งภายในตัวบุคคล                     
3.ได้มีผู้รู้ให้ความหมายของคำว่า ความขัดแย้งไว้ต่าง ๆ กัน ความหมายที่สำคัญ ๆ  มีดังนี้ 
  ความ ขัดแย้ง เป็นการต่อสู้ดิ้นรนระหว่างผู้ที่ไม่ลงรอยกัน (ทั้งบุคคลหรือกลุ่ม) ในด้านความต้องการ ความปรารถนา ความคิด และผลประโยชน์ ความขัดแย้งเกิดขึ้นเมื่อบุคคลหรือกลุ่มที่เผชิญหน้าไม่สามารถหาข้อยุติที่ เป็นที่พอใจของทั้งสองฝ่ายได้ 
  ความขัดแย้ง เป็นพฤติกรรมที่ไม่สอดคล้องต้องกัน ระหว่างกลุ่มที่มีความสนใจต่างกัน 
  ความขัดแย้ง เป็นกระบวนการหนึ่งที่เริ่มต้นเมื่อกลุ่มหนึ่งรับรู้ว่าตนถูกทำลายจากกลุ่มอื่นหรือส่อเค้าว่ากลุ่มอื่นตั้งท่าจะทำลายตน 
  ความขัดแย้ง หมายถึง สภาพการณ์ที่ทำให้คนตกอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถจะตัดสินใจหรือตกลงหาข้อยุติอันเป็นที่พอใจของทั้งสองฝ่ายได้ 
  ความ ขัดแย้ง หมายถึง สถานการณ์ที่คนมีความเห็น ความเชื่อไม่ตรงกัน และตกอยู่ในภาวะที่ไม่อาจจะตกลงหาข้อยุติที่น่าพอใจได้ทั้งสองฝ่าย หากปล่อยปละละเลย ไม่หาทางทำความเข้าใจอาจก่อให้เกิดความแตกแยก อิจฉาริษยา ซึ่งมีผลกระทบไปถึงความเสื่อมโทรมของหน่วยงานได้ 
  ความ ขัดแย้ง หมายถึง สภาพการณ์ที่บุคคล 2 ฝ่าย มีความคิดเห็น หรือความเชื่อที่ไม่ตรงกันและยังไม่สามารถหาข้อยุติที่สอดคล้องต้องกันได้ 
  ความ ขัดแย้งขององค์การ คือ ความไม่เห็นพ้องต้องกันระหว่างสมาชิก หรือกลุ่มขององค์การสองกลุ่ม หรือมากกว่าเกิดขึ้นจากข้อเท็จจริงเกี่ยวกับว่า พวกเขาจะต้องมีส่วนร่วมในทรัพยากรที่จำกัด หรืองานต่าง ๆ หรือพวกเขามีความแตกต่างในด้านสถานภาพ เป้าหมาย ค่านิยม การรับรู้ ทัศนคติ ความเชื่อซึ่งแตกต่างกันและไม่เห็นพ้องต้องกัน ต่างก็พยายามแสดงทัศนะของพวกเขาให้เด่นกว่าบุคคลอื่น หรือความต้องการของเขาไม่ได้รับการตอบสนอง 
   จาก ความหมายดังกล่าวมาพอสรุปได้ว่า ความขัดแย้งเป็นความรู้สึกนึกคิด หรือการกระทำที่ขัดกันทั้งภายในตนเอง ระหว่างบุคคล และระหว่างกลุ่ม ซึ่งมีผลทำให้เกิดการแข่งขัน หรือการทำลายกัน 

แนวคิดเกี่ยวกับความขัดแย้ง 
     
ขอตั้งคำถามวัดความรู้สึกของท่านผู้อ่านว่า ท่านมีความรู้สึกอย่างไร เมื่อมีความขัดแย้งเกิดขึ้นในครอบครัวของท่าน หรือในหน่วยงานของท่าน ? ท่านมีความรู้สึกอย่างไร แล้วถ้าท่านจะถ่ายทอดความรู้สึกออกมาเป็นภาพวาด ท่านจะวาดเป็นภาพอะไรให้ตรงกับความรู้สึกของท่านมากที่สุด (นึกไว้หรือจะวาดจริง ๆ สัก 1 ภาพก็ได้)
      (เฉลย)
    ถ้า ท่านวาดเป็นภาพคนหน้าบึ้งหรือโกรธ (คนส่วนมากวาดภาพนี้) หัวใจแตกร้าว, คนด่าทอกัน, เส้นยุ่ง ๆ คนหันหลังให้กัน คนงัดข้อกัน วิวาทชกต่อยกัน ตลอดจนภาพที่มีไม้ มีดปืนลูกระเบิดเข้ามาเกี่ยวข้อง ฯลฯ ขอเฉลยว่าท่านมีแนวความคิดเกี่ยวกับความขัดแย้งแบบโบราณ (เดิม) มองความขัดแย้งเป็นโทษเป็นปัญหาแล้วภาพแบบใดจึงจะไม่โบราณหรือทันสมัย (ใหม่) ภาพที่เป็นกลาง ๆ ได้แก่ เครื่องหมาย + กับ ลูกศรไปคนละทางภาพที่แสดงถึงผู้มีแนวความคิดเกี่ยวกับความขัดแย้งที่ทัน สมัย(จะมีจำนวนน้อยมาก) ตัวอย่างภาพที่พบ เช่น เป็นภาพเส้นไม้หรือหวายขัดกัน ผู้วาดอธิบายว่า ไม้ไผ่อ่อน ๆ แต่ละเส้นถ้านำมาขัดกัน จะทำให้เกิดเป็นกระดัง ชะลอม หรือรั้วที่แข็งแรงให้ประโยชน์ได้ดี เป็นการมองว่าความขัดแย้งทำให้เกิดประโยชน์แก่องค์การได้ ทำให้เกิดการตัดสินใจที่รอบคอบขึ้น
  ผู้ วาดอธิบายว่า ความขัดแย้งถ้าเรามองผิวเผินเปรียบเสมือนกองขยะเป็นสิ่งน่ารังเกียรติ มีกลิ่นเหม็น แต่ถ้าคิดให้ลึกซึ้งกองขยะ (ความขัดแย้ง) นั้น มีประโยชน์ เป็นปุ๋ยให้ต้นไม้เจริญออกดอกสวยงามได้ ความขัดแย้งก็เช่นเดียวกันมีประโยชน์ต่อองค์การ เป็นเชื้อ เป็นปุ๋ย ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ สร้างความเจริญให้แก่องค์การได้วาดภาพอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยอธิบายว่า สังคมประชาธิปไตย ย่อมต้องมีความคิดที่หลากหลายและขัดแย้งกันได้ถือเป็นเรื่องธรรมดา 
  แนวคิดหรือทัศนะเกี่ยวกับความขัดแย้ง สรุปได้ว่าแนวคิดเกี่ยวกับความขัดแย้ง แบ่งได้ชัดเจน 2 แนวคิดคือ 
 1.  แนว คิดเดิม ถือว่าความขัดแย้งเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็น และเป็นผลร้ายทั้งในส่วนบุคคลและองค์การ เป็นสัญญาณของความผิดพลาดบางอย่างขององค์การ หรือเป็นความล้มเหลวของการบริหาร คนส่วนมากจึงหลีกเลี่ยงและกลัวการมีความขัดแย้ง ความขัดแย้งจึงเป็นสิ่งที่ต้องเก็บกด หลีกเลี่ยง หรือกำจัดให้หมดไป ใครก่อปัญหาความขัดแย้งคือตัวแสบขององค์กา
  2.  แนว คิดใหม่ ถือว่าความขัดแย้งเป็นเรื่องปกติที่มีในสังคม และเป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ มีทั้งคุณและโทษ ความขัดแย้งจึงมิใช่สิ่งแปลกประหลาดหรือสิ่งที่น่ารังเกียจแต่เป็นสิ่งที่ ควรศึกษาให้เข้าใจจนสามารถใช้ประโยชน์จากความขัดแย้งได้ โดยเฉพาะในสังคมประชาธิปไตย ต้องอาศัยความขัดแย้งเป็นเครื่องหล่อเลี้ยง เพราะจากการขัดแย้งนั้นจะเกิดมติอันถูกต้อง เป็นประโยชน์ต่อประชาชนและบ้านเมืองอย่างแท้จริง ซึ่งตรงกับแนวคิดที่ว่า ความขัดแย้งบางอย่างจำเป็นต้องมีเพื่อเป็นการกระตุ้นให้องค์การไม่เฉื่อยชา และมีการเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นแต่ความขัดแย้งนั้นจะต้องอยู่ในระดับที่พอ เหมาะไม่สูงหรือต่ำเกินไป 
   เพื่อ ให้เห็นเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนขึ้น อาจเปรียบเทียบความขัดแย้งเหมือนกับสัตว์ดุร้ายชนิดหนึ่ง ซึ่งคนโบราณพยายามหลีกหนี หรือฆ่าทิ้งเสียเพราะกลัวอันตราย แต่คนปัจจุบันพยายามศึกษาให้เข้าใจธรรมชาติของสัตว์ดุร้าย แล้วนำมาเลี้ยงมาฝึกให้เชื่อง จนสามารถคุมพฤติกรรมและสามารถนำมาใช้ประโยชน์ตามที่ต้องการได้                         
  ความ ขัดแย้งมีในทุกองค์การหรือหน่วยงาน ถ้ามีในระดับที่พอเหมาะ (ความสามัคคี คือ ความขัดแย้งที่พอเหมาะ) จะช่วยกระตุ้นให้บุคคลในองค์การได้ใช้ความคิด ความอ่าน ในการแก้ปัญหาและสร้างสรรค์งาน ตรงกับคำกล่าวที่ว่า “No progress Without conflict” (ไม่เจริญถ้าปราศจากความขัดแย้ง) แต่ถ้ามีความขัดแย้งที่มากถึงระดับที่เป็นปัญหาก็จะทำให้บุคคลในองค์การแตก ความสามัคคีทำให้องค์การเสื่อมลงในที่สุด             
  สุดท้ายขอฝากไว้ว่า ความขัดแย้ง ขัดกันได้และมีส่วนดี แต่อย่ามีนิสัยสร้างความขัดแย้ง แล้วชีวิตจะเป็นสุข

ตัวอย่างวิดีโอ









ค่านิยม

  
 4.ค่านิยม
 
 
 
 
 1.1  ความหมายของค่านิยม 
 
เปลี่ยน ปีคนให้นิยามใหม่ (update) คำว่า “ค่านิยม” มีผู้ให้ความหมายมากมาย อาทิเช่น
ก่อ สวัสดิ์พานิช (2535) ได้กล่าวว่า ค่านิยม เป็นความคิด พฤติกรรมและสิ่งอื่นที่คนในสังคมหนึ่งเห็นว่า มีคุณค่า จึงยอมรับมาปฏิบัติและหวงแหนไว้ระยะหนึ่ง ค่านิยมมักเปลี่ยนแปลงไปตามกาลสมัยและความคิดเห็นของคนในสังคม
พนัส หันนาคินทร์(2537) กล่าวถึงความหมายของค่านิยมไว้ว่า เป็นการยอมรับนับถือและพร้อมที่จะปฏิบัติตามคุณค่าที่คนหรือกลุ่มคนในสังคม มีต่อสิ่งต่างๆ อาจเป็นวัตถุ ความคิดหรือการกระทำในด้านต่างๆ เช่น เศรษฐกิจ สังคม ทั้งนี้ ได้มีการประเมินค่าจากทัศนะต่างๆ โดยรอบคอบแล้ว
Phenix (1992) ให้นิยามว่า “ค่านิยมคือความชอบ ความสามารถจำแนกให้ความเห็นความแตกต่างของความชอบกับกับความไม่ชอบได้โดยการประเมินผล”
Ruch (1992) กล่าวไว้ว่า ค่านิยมเป็นแรงจูงใจอันสำคัญที่มีต่อจุดมุ่งหมายในชีวิตจุดมุ่งหมายใดของ ชีวิตได้มาแล้วคุ้มค่า เราจะกล่าวว่าจุดมุ่งหมายนั้นมีค่านิยมสูง ถ้าจุดมุ่งหมายใดได้มาแล้วไม่คุ้มค่า จุดมุ่งหายนั้นมีค่านิยมในระดับต่ำ สิ่งใด ที่บุคคลพยายามหลีกเลี่ยง แสดงว่า บุคคลนั้นมีค่านิยมที่ไม่ดีหรือมีค่านิยมในทางลบต่อสิ่งนั้น ค่านิยมจึงมีบทบาทและอิทธิพลต่อพฤติกรรมของบุคคล
Miller (1995) ได้อธิบายว่า ค่านิยมเป็นเจตคติและความเชื่อที่ฝังลึกในชีวิตของบุคคลและมีอิทธิพลต่อ พฤติกรรมของบุคคลในทุกด้าน จากพฤติกรรมที่เห็นได้ง่าย อาทิเช่น การแต่งกายไปจนถึงพฤติกรรมที่ซับซ้อน อาทิเช่น การแสดงความคิดเห็น การเลือกคู่ครอง ความยุติธรรม เป็นต้น
จากทัศนะต่างๆ เกี่ยวกับความหมายของค่านิยมเมื่อประมวลแล้วสรุปได้ว่า ค่านิยม เป็นสิ่งสำคัญประการหนึ่งในการคงอยู่ของสังคมมนุษย์ ค่านิยมมีบทบาทต่อความคิดและการแสดงออกทางพฤติกรรมของมนุษย์ในสังคม ทำให้สังคมมีความโน้มเอียงไปในทางเดียวกันในสังคมนั้นๆ อันจะเป็นแนวทางที่มนุษย์จะประพฤติตนไปในแนวทางใดแนวทางหนึ่งที่ตัวเองได้ พิจารณาไตร่ตรองแล้วว่าเป็นสิ่งที่ดีสำหรับตนหรือสังคมยอมรับนับถือ และปฏิบัติตามแนวคิดนั้นๆ อย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยก็ชั่วระยะเวลาหนึ่ง แต่อาจเปลี่ยนแปลงไปตามกาลสมัย และตามความคิดเห็นของมนุษย์ในสังคมนั้น


1.2 ประเภทของค่านิยม 
 
นักวิชาการได้แบ่งประเภททางค่านิยมไว้หลายแบบ ในงานวิจัยนี้ได้เลือกการแบ่งประเภทของค่านิยมพึงเสนอไว้ 2 แบบ ดังต่อไปนี้
อดุลย์ วิเชียรเจริญ (2537) ใช้หลักความเปลี่ยนแปลงแบ่งค่านิยมไว้เป็นสองประเภท ได้แก่ ประเภทแรก ค่านิยมหลักซึ่งเป็นค่านิยมที่มีลักษณะเฉพาะของสังคมใดสังคมหนึ่ง ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นแล้ว มีการวางรากลึก ยากที่จะมีการเปลี่ยนแปลง ส่วนอีกประการหนึ่ง ได้แก่ ค่านิยมที่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพของสังคมซึ่งเป็นของที่ไม่คงทน
Phenix (1996) ใช้หลักความสนใจและความปรารถนาของบุคคลแบ่งค่านิยมออกเป็น 6 ประเภท คือ
1. ค่านิยมทางสังคม (Social Values) เป็นค่านิยมที่ช่วยให้เกิดความรักความเข้าใจและ ความต้องการของอารมณ์ของบุคคล 2. ค่านิยมทางวัตถุ (Material Values) เป็นค่านิยมที่ช่วยให้ชีวิตร่างกายของคนเรา สามารถดำรงอยู่ได้ต่อไป ได้แก่ ปัจจัยสี่ คืออาหาร ที่อยู่อาศัย เสื้อผ้า และยารักษาโรค 3. ค่านิยมทางความจริง (Truth Values) เป็นค่านิยมเกี่ยวกับความจริงซึ่งเป็นค่านิยมที่ สำคัญยิ่งสำหรับผู้ที่ต้องการความรู้ และนักวิทยาศาสตร์ที่ต้องการค้นหากฎของธรรมชาติ 4. ค่านิยมทางจริยธรรม (Moral Values) เป็นค่านิยมที่ทำให้เกิดความรับผิดชอบชั่วดี 5. ค่านิยมทางสุนทรียะ (Aesthetic Values) เป็นความซาบซึ้งใจในความดีและความงาม ของสิ่งต่างๆ 6. ค่านิยมทางศาสนา (Religious Values) เป็นค่านิยมที่เกี่ยวกับความปรารถนาความ
สมบูรณ์ของชีวิต รวมทั้งความศรัทธา และการบูชาในทางศาสนาด้วย จากประเภทต่างๆ ของค่านิยมข้างต้น ค่านิยมความรัก คู่ครอง และการแต่งงาน ที่ศึกษาใน การวิจัยครั้งนี้เป็นค่านิยมที่น่าจะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพทางสังคมวัย รุ่นที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ค่านิยมที่ศึกษาเป็นค่านิยมที่ศึกษาเป็นค่านิยมทางสังคมและทางจริยธรรม

1.3 หน้าที่ของค่านิยม


สุนทรี โคมิน และสนิท สมัครการ (2540) กล่าวถึง หน้าที่ของค่านิยม 7 อย่างไว้ดังนี้
a.ค่านิยมจูง (Lead) เป็นค่านิยมที่ช่วยให้บุคคลได้แสดงจุดยืนของตนในเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับสังคมออกมาอย่างชัดเจน b.ค่านิยมเป็นตัวช่วยกำหนด (Predispose) ให้บุคคลนิยมอุดมการณ์ทางการเมืองบางอุดมการณ์มากกว่าอุดมการณ์อื่น c.ค่านิยมเป็นบรรทัดฐานที่ช่วยนำ (Guide) การกระทำให้ทำบุคคลประพฤติ และแสดงตัวต่อผู้อื่นที่ประพฤติเป็นปกติอยู่ทุกวัน d.ค่านิยมเป็นบรรทัดฐานที่ใช้ในการประเมิน (Evaluate) ตัดสินการชื่นชมยกย่อง การตำหนิ ติเตียนตัวเอง และการกระทำของผู้อื่น e.ค่านิยมเป็นจุดกลางของการศึกษา กระบวนการเปรียบเทียบกับผู้อื่น f.ค่านิยมเป็นบรรทัดฐานที่ถูกใช้ในการชักชวน (Persuade) หรือสร้างประสิทธิผลต่อคนอื่น g.ค่านิยมเป็นบรรทัดฐานที่ถูกใช้เป็นฐาน (Base) สำหรับกระบวนการให้เหตุผลต่อความนึกคิด และการกระทำของตน
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (2542) ได้ให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับหน้าที่ของค่านิยมว่า ค่านิยมเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เนื่องจากว่า ค่านิยมที่มนุษย์มีอยู่นั้น ทำหน้าที่มากมายหลายอย่างที่เกี่ยวกับชีวิตของมนุษย์ที่สำคัญคือ
1. ค่านิยมทำหน้าที่เป็นบรรทัดฐาน หรือมาตรฐานของพฤติกรรมทั้งหลายของบุคคลกล่าวคือ ค่านิยมจะเป็นตัวกำหนดการแสดงออกพฤติกรรมของจะทำหรือไม่เราว่า ค่านิยมจะเป็นตัวกำหนดการแสดงออกของพฤติกรรมของเราว่า บุคคลควรจะทำหรือไม่ควรจะทำสิ่งใด ค่านิยมจะช่วยกำหนดจุดยืนในเรื่องต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจ สังคม การเมืองและค่านิยมจะทำหน้าที่ประเมินการปฏิบัติการต่างๆ ทั้งของตัวบุคคลเอง และของคนอื่น
2. ค่านิยมทำหน้าที่เป็นแบบแผนในการตัดสินใจ และการแก้ไขข้อขัดแย้งต่างๆ ในบางกรณีบุคคลต้องเจอกับสถานการณ์บางอย่างที่ขัดแย้งกัน ทำให้เขาต้องเลือกทางใดทางหนึ่ง เช่น การปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาอย่างเคร่งครัด กับความเป็นตัวของตัวเอง หรือรักษาความเป็นอิสระของตัวเอง การปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริตแต่ยากจน กับการปฏิบัติงานในที่ไม่สุจริต แต่ทำให้ร่ำรวย บุคคลจะเลือกเดินทางไหนนั้นค่านิยมมีอยู่จะช่วยกำหนดทางเลือกให้เขา
3. ค่านิยมทำหน้าที่เป็นแรงจูงใจ หรือผลักดันของบุคคล เช่น บุคคลที่มีความนิยมชมชอบในการมีอายุยาวนาน หรือสุขภาพดี ก็จะมีแรงผลักดันให้อยากออกกำลังกายอยู่เสมอ ตลอดจนมีความรอบคอบในการ บริโภคอาหาร บุคคล ที่มีความนิยมเกี่ยวกับวัตถุนิยมสูง ก็จะมีความขยันขัยแข็ง และเพียรพยายามในการทำงานเพื่อให้ได้มาทำงาน เพื่อเงินทองและสิ่งของที่พึงปรารถนา ค่านิยมจะทำหน้าที่เป็นเกณฑ์ หรือมาตรฐาน ในการแสดงออกของพฤติกรรม ช่วยตัดสินใจในกรณีที่บุคคลได้พบกับสถานการณ์บางอย่างที่ขัดแย้งกัน และต้องเลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่งและค่านิยมยังช่วยเสริมสร้างแรงจูงใจความ สนใจ และความตั้งใจที่จะนำไปสู้การแสดงพฤติกรรมที่สอดคล้องกับค่านิยมที่ตัวเอง ยึด

1.4 ธรรมชาติและกระบวนการเกิดค่านิยม

 Rokeach (2001) อธิบายไว้ว่า แนวคิดและค่านิยมของกรอบทฤษฎีนั้น ตั้งอยู่บนบนฐานที่เกี่ยวกับธรรมชาติแห่งค่านิยมของมนุษย์ 5 ประการ ดังนี้ 1.จำนวนของค่านิยมแต่ละคนมีไม่มากนัก และอยู่ในข่ายที่จะนับและศึกษาได้ 2.ความแตกต่างของค่านิยมจะแสดงออกในทางระดับ (Degree) 3.ค่านิยมต่างๆ จะสามารถจัดรวมกันได้ เป็นระบบค่านิยม (Values system) 4.ค่านิยมของมนุษย์สามารถสืบไปจนถึงพฤติกรรมของมนุษย์ในเกือบทุกรูปแบบที่ สามารถนำมาวิเคราะห์ได้ 5.ค่านิยมของมนุษย์จะแสดงออกทางเจตคติและพฤติกรรมของมนุษย์ในเกือบทุกรูปแบบ ที่สามารถนำมาวิเคราะห์ได้

ในเรื่องของกระบวนการเกิดค่านิยม สายสุนีย์ อุดมนา (2543) ได้กล่าวถึงกระบวนการเกิดค่านิยม มี 5 ลำดับ คือ

1.ความรู้สึก จากสิ่งที่ตนกระทำอยู่ หรือเคยมีประสบการณ์มาก่อน 2.ความคิดเห็น แบ่งได้หลายประเภท ได้แก่ เป็นความคิดเห็นอย่างระดับ แบ่งเป็น 7 ระดับ คือ ระดับความจำ การแปลความ การประยุกต์ การตีความ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ และการประเมินผล แยกเป็นความคิดเห็นแบบวิพากษ์ วิจารณ์ ซึ่งแยกแยะข้อเท็จจริงจากความคิดเห็นส่วนตัวที่มีอคติ แยกเอาการเลือกที่รักมักที่ชัง และข้อขัดแย้งจากสิ่งที่เป็นสัจจะหรือข้อเท็จจริง รวมทั้งการวิพากษ์ วิจารณ์ การโฆษณาชวนเชื่อ และพฤติกรรมที่ตามมา เป็นต้น เป็นความคิดเห็นตามหลักตรรกวิทยา ความคิดแบบสร้างสรรค์ ความคิดจากพระพุทธศาสนา อาทิเช่น การใช้ภาษา การคำนวณและการวิจัย 3.การติดต่อสื่อสารและถ่ายทอด สามารถทำได้ทั้งคำพูดหรือทางอื่น อาทิเช่น การเขียน การฟัง การวาดรูป เป็นต้น 4.การเลือกเชื่อและเกิดศรัทธา เป็นการพิจารณาเพื่อหาข้อสรุปจากทางเลือกต่างๆ มีการพิจารณาสิ่งที่เกี่ยวข้องทั้งที่ชอบและไม่ชอบ ทำให้ตนเลือกเชื่อและเกิดศรัทธาในการพึ่งพาตนเองว่า เป็นสิ่งที่ดีและยึดมั่นไว้ในใจ 5.การปฏิบัติ เป็นขั้นตอนที่ทำตามซ้ำกับที่เคยทำมา หรือจากที่เลือกใหม่ ในขั้นนี้ จะเกิดความเชื่อและมีศรัทธาในพฤติกรรม พยายามที่จะปฏิบัติ เป็นพฤติกรรมที่สามารถเห็นได้

ตัวอย่างวิดีโอ 











 

การพึ่งพาอาศัยกัน

   

3.การพึ่งพาอาศัยกัน (Interdependence)

             


การพึ่งพาอาศัยกัน (Interdependence) 

 ได้แก่ ความเข้าใจตระหนักรู้ถึงความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างกันของผู้คน ถิ่นฐาน เศรษฐกิจ ธรรมชาติสิ่งแวดล้อมที่ต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เข้าใจสภาวการณ์ในระดับโลก สามารถเรียนรู้ที่จะจัดการกับความซับซ้อนได้

การพึ่งพากัน 

            การ พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันของประเทศต่างๆในด้านการรวมตัวเป็นองค์กรความร่วม มือทางเศรษฐกิจก็ เนื่องมาจากความมั่นคงและสวัสดิการของประเทศ ซึ่งการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันได้เพิ่มขึ้น อย่างรวดเร็วในภาวะเศรษฐกิจที่มีการผลิตโดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย และเน้นภาคธุรกิจหรือ ผลผลิตทางภาคอุตสาหกรรม ยิ่งกว่านั้น เมื่อกระบวนการผลิตใช้เทคโนโลยีสูงขึ้น ย่อมทำให้ สินค้าและบริการออกสู่ตลาดได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งระบบการค้า มักจะถือกันว่าเป็นรูปแบบ ของกระบวนการ พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันทางเศรษฐกิจ อัตราส่วนของการค้าต่อผลิตภัณฑ์ มวลรวมประชาชาติ ขยายตัวมากขึ้นย่อมหมายถึงประเทศนั้น มีการพึ่งพิงระบบการค้า ระหว่างประเทศมากขึ้นด้วย ทำให้การเจริญเติบโตของประเทศต้องอาศัยการพึ่งพากันทางการค้า และการลงทุน ซึ่งเป็นจุดกำเนิดของการร่วมมือกันทางเศรษฐกิจ 



             ตลอด จนมีการแลกเปลี่ยน เทคโนโลยีและทรัพยากรทางเศรษฐกิจ เพื่อให้ประเทศสมาชิกในองค์กรได้รับผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน ซึ่งสามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆได้ เช่น ความร่วมมือกันในภูมิภาคเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ ซึ่งประเทศไทยได้เข้าร่วมกลุ่มดังกล่าว และได้รับประโยชน์จากการรวมกลุ่มในด้าน การพึ่งพาอาศัยกัน เช่น แต่ละประเทศจะผลิตสินค้าหรือใช้ปัจจัยการผลิตที่ประเทศตนเอง สามารถผลิตได้ กล่าวคือ ประเทศไทยผลิตเกลือหินและโซดาแอช อินโดนีเซียและ มาเลเซียผลิตปุ๋ยยูเรีย สิงคโปร์ผลิตเครื่องยนต์ดีเซล และฟิลิปปินส์ผลิตปุ๋ยฟอสเฟต ซึ่งแต่ละประเทศมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำ ทำให้ส่งสินค้าออกไปขายยังต่างประเทศได้มากขึ้น ทำให้เศรษฐกิจมีการขยายตัวมากขึ้นด้วย ดังนั้นการพึ่งพาอาศัยกันในรูปของการร่วมมือทางเศรษฐกิจ ของแต่ละประเทศ ก่อให้เกิดผลประโยชน์ร่วมกัน ตลอดจนการบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่อย่าง จำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด และองค์กรที่มีความเข้มแข็งสามารถต่อรองทางการค้ากับประเทศต่างๆได้


การอยู่ร่วมกันในสังคม           

 การอยู่ร่วมกันในชุมชนดั้งเดิมนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นญาติพี่น้องไม่กี่ตระกูล ซึ่งได้อพยพ ย้ายถิ่นฐานมาอยู่ หรือสืบทอดบรรพบุรุษจนนับญาติกันได้ทั้งชุมชน มีคนเฒ่าคนแก่ที่ชาวบ้าน เคารพนับถือเป็นผู้นำ หน้าที่ของผู้นำไม่ใช่การ สั่ง แต่เป็นผู้ให้คำแนะนำปรึกษา มีความแม่นยำในกฏระเบียบประเพณีการดำเนินชีวิต ตัดสินไกล่เกลี่ยหากเกิดความขัดแย้ง ช่วยกันแก้ไข ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น"ผิดผี" คือ ผีของบรรพบุรุษ ผู้ซึ่งได้สร้างกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ไว้ เช่น กรณีที่ชายหนุ่มถูกเนื้อ ต้องตัวหญิงสาวที่ยังไม่แต่งงาน เป็นต้น หากเกิด การผิดผีขึ้นมา ก็ต้องมีพิธีกรรมขอขมา โดยมี คนเฒ่าคนแก่เป็นตัวแทนของบรรพบุรุษ มีการ ว่ากล่าวสั่งสอนและชดเชยการทำผิดนั้นตามกฎเกณฑ์ที่วางไว้

            ชาว บ้านอยู่อย่างพึ่งพาอาศัยกัน ยามเจ็บไข้ได้ป่วย ยามเกิดอุบัติเหตุเภทภัย ยามที่โจร ขโมยวัวควายข้าวของ การช่วยเหลือกันทำงาน ที่เรียกกันว่า การลงแขก ทั้งแรงกายแรงใจ ที่มีอยู่ก็จะแบ่งปันช่วยเหลือเอื้ออาทรกัน การ แลกเปลี่ยนสิ่งของ อาหารการกิน และอื่น ๆ จึงเกี่ยวข้องกับวิถีของชุมชน ชาวบ้านช่วยกัน เก็บเกี่ยวข้าว สร้างบ้าน หรืองานอื่นที่ต้องการ คนมาก ๆ เพื่อจะได้เสร็จโดยเร็ว ไม่มีการจ้าง กรณีตัวอย่างจากการปลูกข้าวของชาวบ้านถ้าปีหนึ่งชาวนาปลูกข้าวได้ผลดี ผลิตผลที่ได้จะ ใช้เพื่อการบริโภคในครอบครัว ทำบุญที่วัด เผื่อแผ่ให้พี่น้องที่ขาดแคลน แลกของ และเก็บ ไว้เผื่อว่าปีหน้าฝนอาจแล้ง น้ำอาจท่วม ผลิตผลอาจไม่ดี


            ใน ชุมชนต่าง ๆ จะมีผู้มีความรู้ความสามารถหลากหลาย บางคนเก่งทางการรักษาโรค บางคนทางการเพาะปลูกพืช บางคนทางการเลี้ยง สัตว์ บางคนทางด้านดนตรีการละเล่น บางคน เก่งทางด้านพิธีกรรม คนเหล่านี้ต่างก็ใช้ความ


สามารถเพื่อประโยชน์ของชุมชน โดยไม่ถือเป็น อาชีพที่มีค่าตอบแทน อย่างมากก็มี "ค่าครู"แต่เพียงเล็กน้อย ซึ่งปกติแล้ว เงินจำนวนนั้น ก็ใช้สำหรับเครื่องมือประกอบพิธีกรรม หรือ เพื่อทำบุญที่วัดมากกว่าที่หมอยาหรือบุคคลผู้นั้น


            จะ เก็บไว้ใช้เอง เพราะแท้ที่จริงแล้ว "วิชา" ที่ ครูถ่ายทอดมาให้แก่ลูกศิษย์จะต้องนำไปใช้เพื่อ ประโยชน์แก่สังคม ไม่ใช่เพื่อผลประโยชน์ส่วน ตัว การตอบแทนจึงไม่ใช่เงินหรือสิ่งของเสมอไป แต่เป็นการช่วยเหลือเกื้อกูลกันโดยวิธีการต่าง ๆ 


ด้วย วิถีชีวิตเช่นนี้ จึงมีคำถามเพื่อเป็นการ สอนคนรุ่นหลังว่า ถ้าหากคนหนึ่งจับปลาช่อน ตัวใหญ่ได้หนึ่งตัว ทำอย่างไรจึงจะกินได้ทั้งปี คนสมัยนี้อาจจะบอกว่า ทำปลาเค็ม ปลาร้า หรือ เก็บรักษาด้วยวิธีการต่าง ๆ แต่คำตอบที่ถูกต้อง คือ แบ่งปันให้พี่น้องเพื่อนบ้าน เพราะเมื่อ เขาได้ปลา เขาก็จะทำกับเราเช่นเดียวกัน
ชีวิตทางสังคมของหมู่บ้านมีศูนย์กลางอยู่ที่วัด กิจกรรมของส่วนรวมจะทำกันที่วัด งานบุญประเพณีต่าง ๆ ตลอดจนการละเล่นมหรสพ พระสงฆ์เป็นผู้นำทางจิตใจ เป็นครูที่สอนลูก หลานผู้ชายซึ่งไปรับใช้พระสงฆ์ หรือ "บวชเรียน"


            ทั้ง นี้เพราะก่อนนี้ยังไม่มีโรงเรียน วัดจึงเป็นทั้งโรงเรียนและหอประชุมเพื่อกิจกรรมต่าง ๆ ต่อเมื่อโรงเรียนมีขึ้นและแยกออกจากวัด บทบาท ของวัดและของพระสงฆ์จึงเปลี่ยนไป
งานบุญประเพณีในชุมชนแต่ก่อนมีอยู่ทุก เดือน ต่อมาก็ลดลงไปหรือสองสามหมู่บ้านร่วมกันจัด หรือผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกัน เช่น งานเทศน์มหาชาติ ซึ่งเป็นงานใหญ่ หมู่บ้าน เล็ก ๆ ไม่อาจจะจัดได้ทุกปี งานเหล่านี้มีทั้งความเชื่อ พิธีกรรมและความสนุกสนาน ซึ่งชุมชน แสดงออกร่วมกัน




ตัวอย่างวิดีโอ 










ความยุติธรรม

2.ความยุติธรรม


มนุษย์เป็นสัตว์ที่อยู่เป็นสังคม การที่อยู่ร่วมกันก็ย่อมมีการประพฤติปฏิบัติต่อกันและกัน รวมทั้งมนุษย์แต่ละคนย่อมมีแนวปฏิบัติของตนเองว่า จะกระทำอะไร อย่างไร ด้วยเหตุผลอะไร โดยธรรมชาติมนุษย์มีแนวโน้มที่จะใฝ่หาความสุข ความสบาย หลีกหนีความทุกข์ยาก ความลำบาก และโดยธรรมชาติมนุษย์อาจจะปฏิบัติต่อผู้อื่นอย่างเลวร้ายหรืออย่างเอารัดเอา เปรียบ หากว่าตนเองจะได้รับประโยชน์หรือความสุขความสบายเป็นเครื่องตอบแทนถ้าทุกคน ปฏิบัติเช่นนั้นสังคมก็จะยุ่งเหยิงวุ่นวายที่สุดแล้วก็คงไม่มีใครที่จะอยู่ ได้อย่างสุขสงบ
ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องมี กฏเกณฑ์ร่วมกัน การที่จะให้ผู้อื่นเคารพสิทธิของตนเองและไม่เบียดเบียนตนเอง ตนก็ต้องเคารพสิทธิของผู้อื่นและไม่เบียดเบียนผู้อื่น ตนเองอยากให้ผู้อื่นปฏิบัติต่อตนเองอย่างไร ก็ต้องปฏิบัติอย่างนั้นต่อผู้อื่น
ปราชญ์ในสมัยกรีกโบราณเช่น โสเครตีส เพลโต และอริสโตเติ้ลต่างก็พยายามหาคำตอบที่ว่า อะไรคือจุดมุ่งหมายสูงสุดของชีวิต? ความดีคืออะไร? และมนุษย์ควรจะปฏิบัติตนอย่างไร? เอาอะไรเป็นเกณฑ์ตัดสินว่าดี? ความดีนั้นเป็นสากลหรือไม่ หรือความดีจะเปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อมทางสังคมแต่ละยุคสมัย? ความยุติธรรมคืออะไรและใช้เกณฑ์อะไรตัดสิน?
ความยุติธรรมเป็นแม่แบบของแนวทาง ต่างๆ เป็นแนวทางในเกณฑ์การตัดสิน ซึ่งมีกฏหมายเป็นเครื่องมือในการทำหน้าที่ ความยุติธรรมนั้นเป็นเรื่องที่ละเอียดเพราะการที่คนเราจะกำหนดว่าอะไรคือ ความดี แล้วความดีกับความชั่วต่างกันตรงไหนเป็นเรื่องที่ต้องวิเคราะห์กันอย่าง ละเอียด
โสเครตีสเชื่อว่าถ้าเราไม่สามารถหา คำนิยามของคุณธรรมเหล่านี้ได้ เราก็จะไม่สามารถมีความรู้เกี่ยวกับคุณธรรมได้ และการตัดสินว่าการกระทำหนึ่งมีความยุติธรรม หรือกล้าหาญ ฯลฯ หรือไม่ ย่อมปราศจากหลักเกณฑ์ที่น่าเชื่อถือ
คุณแม่คนนึงแบ่งเค้กให้ลูกแฝดทั้งสองคน คุณแม่แบ่งให้ลูกคนที่โตกว่าไม่กี่ชั่วโมง น้อย กว่าอีกคน
คนโต บอกคุณแม่ไม่ยุติธรรม ถึงผมจะแก่กว่าไม่กี่ชั่วโมงก็ไม่ใช่ว่าผมจะได้เค้กน้อยกว่า(สมมติฮะสมมติ)
แล้วคุณคิดว่าความยุติธรรมคืออะไร
การแบ่งครึ่งๆ อย่างเท่ากัน หรือเปล่า.....
ขณะที่พี่คนโตกว่าบอกไม่ยุติธรรม ส่วนคนน้องว่ามันยุติธรรมดีแล้ว
หรือความยุติธรรมก็คือเรื่องของผลประโยชน์?
ความยุติธรรม คือ ยุติ และ ธรรม ตีความตามตัวอักษรได้ว่า เป็นธรรมอันนำไปสู่ความยุติ คือจบลงแห่งเรื่องราวJohn Lawl กล่าวไว้ว่า Justice is conditions of fair equality of opportunity
ในความเห็นราบูคิดว่าความยุติธรรม ก็เหมือนกับประชาธิปไตยคือ ความคิดเห็นของคนส่วนมากที่มีความคิดเห็นอย่างเดียวกัน ผลประโยชน์ที่ได้รับคือผลประโยชน์ที่กลุ่มคนได้รับเหมือนกัน คิดว่าเหมือนผลประโยชน์ของส่วนรวมนั่นแหละ แน่นอนว่าบางครั้งความยุติธรรมมันต้องขัดกับผลประโยชน์ของคนกลุ่มๆนึง
ยกตัวอย่างเช่น การกำหนดให้มีกฎหมายบังคับใช้ในสังคม ถ้าคนไหนทำผิดตามหลักเกณฑ์ของสังคมนั้นจะมีบทบัญญัติในการลงโทษ ซึ่งคนส่วนมากเห็นด้วยกับหลักการข้อนี้ ตัวอย่างเช่น คนที่ขโมยของถูกปรับ ฯลฯ นั่นคือความยุติธรรมของสังคม
ความยุติธรรมเป็นตัวกำหนดทิศทางของ สังคม ซึ่งความยุติธรรมของแต่ละสังคมไม่เหมือนกัน ยกตัวอย่างเช่น หากสังคมหนึ่งทุกคนเห็นพ้องต้องกันว่า การขโมยของเป็นเรื่องที่ถูกต้อง ถือว่ายุติธรรม ซึ่งในความเป็นจริงแล้วความยุติธรรมที่เป็นที่นิยมมากที่สุดเป็นความ ยุติธรรมที่ต้องอยู่คู่กับ คุณธรรมและจริยธรรม ที่เป็นเครื่องช่วยในการกำหนดกฎเกณฑ์ว่าสิ่งไหนเป็นสิ่งที่ดี ถูกต้อง และเหมาะสม แล้วความยุติธรรมแบบไหนที่คนส่วนมากจะยอมรับ
แนวคิดที่ยึดหลักคุณธรรม หรือคุณงามความดี (virtue)

อริ สโตเติ้ลกล่าวว่า มนุษย์ทุกคนจะต้องเลือกเองว่าจะทำอะไรซึ่งดีสำหรับตนเอง และในขณะเดียวกันก็ดีสำหรับผู้อื่นด้วย ในการเลือกต้องใช้หลักของคุณธรรมมากกว่าที่เลือกตามความพอใจของตนเอง คุณธรรมสามประการที่อริสโตเติ้ลเน้นได้แก่
temperance (การรู้จักควบคุมตน, การข่มใจ,การรู้จักพอ),
courage (ความกล้าหาญ) ความกล้าหาญคือการเลือกตัดสินใจด้วยเหตุผลถึงแม้จะตระหนักถึงอันตรายที่อยู่ ข้างหน้า ผู้ที่มีความกล้าหาญไม่ใช่ผู้ที่ปราศจากความกลัว แต่เลือกกระทำด้วยความเชื่อมั่นว่าสิ่งที่กระทำคือความถูกต้อง ไม่ใช่กล้าบ้าบิ่นขาดการไตร่ตรองด้วยปัญญา
justice (ความยุติธรรม) นั่นคือมนุษย์ทุกคนควรปฏิบัติต่อผู้อื่นด้วยความเท่าเทียมกันเหมือนที่อยากให้ผู้อื่นปฏิบัติต่อตนเอง
จริยธรรม หมาย ถึง ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ, ศีลธรรม, กฏศีลธรรม (1) ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า ethic ซึ่งหมายถึง system of moral principles, rules of conduct (2) คำว่า ethic มีรากศัพท์มาจากคำว่า ethos ในภาษากรีกซึ่งหมายถึงข้อกำหนดหรือหลักการประพฤติปฏิบัติอย่างถูกต้อง และตรงกับคำในภาษาลาตินว่า mores ซึ่งต่อมากลายเป็นคำว่า morality ในภาษาอังกฤษ ( 3 )
คำว่า จริยศาสตร์ หมาย ถึง ปรัชญาสาขาหนึ่งว่าด้วยความประพฤติและการครองชีวิตว่า อะไรดีอะไรชั่ว อะไรถูกหรืออะไรผิด หรืออะไรควรอะไรไม่ควร (1) ตรงกับคำว่า ethics ในภาษาอังกฤษ

แนวความคิดเรื่องประโยชน์ส่วนรวม ( Utilitarianism)
เมื่อมนุษย์อยู่รวมกันเป็นสังคม ใหญ่ก็จะทำให้เกิดข้อขัดแย้งว่า pleasure ของใครจะสำคัญกว่ากัน?คำถามเหล่านี้ได้รับการอธิบายโดยแนวความคิดที่ว่า การกระทำที่นำประโยชน์สูงสุด แก่จำนวนคนที่มากที่สุด และให้ประโยชน์ได้นานที่สุด คือแนวทางปฏิบัติของมนุษย์
  
ความยุติธรรมมีจริงหรือไม่ ? 
ความ ยุติธรรมนั้นเมื่อเราแยกจากหมวดหมู่ของคำ ก็จะรู้ว่า คำว่าความยุติธรรมนั้น เป็นนามธรรม(abstract noun) คือไม่มีตัวตนจับต้องไม่ได้ ตามหลักวิทยาศาสตร์จะขออธิบายดังนี้ ความยุติธรรมนั้นจับต้องไม่ได้ ความยุติธรรมมีจริงเพราะเป็นเครื่องมือของมนุษย์ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเป็น เงื่อนไขไปสู่ข้อยุติของปัญหานั้นๆ ความยุติธรรมสัมผัสได้ แต่สัมผัสได้ด้วยใจ(mind)เป็นเรื่องที่ค่อนข้างละเอียดอ่อนเพราะว่าจิตใจ (mental) ของคนเราไม่เหมือนกัน

 ความยุติธรรมในสังคม 

เราถือว่าปฏิบัติการเพื่อความยุติธรรมและการมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงโลกเป็นมิติหนึ่งที่เป็นองค์ประกอบของการประกาศพระวรสาร” (ยล 6)

1.  ความเข้าใจเรื่องความยุติธรรม

1.1  ความคิดหลักเรื่องความยุติธรรม มีพื้นฐานมากจากหลักเหตุผลและหลักธรรมชาติ ซึ่งหยั่งรากลึกในธรรมชาติของมนุษย์ กล่าวคือ 
1.1.1  มนุษย์ในฐานะที่เป็นบุคคลจะอยู่โดดเดี่ยวตามลำพังคนเดียวไม่ได้ “Man is not an island”
1.1.2  มนุษย์ต้องมีความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นและสิ่งที่มีชีวิตอื่น คือ กับพระเจ้า / สิ่งสูงสุด กับเพื่อนมนุษย์ และกับธรรมชาติ 
1.1.3  ใน การปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่นหรือสิ่งที่มีชีวิตอื่น เรียกร้องความยุติธรรมที่มิใช่แต่เพียงเราทำกับผู้อื่นหรือเพื่อผู้อื่น แต่เป็นความยุติธรรมที่เราต้องทำกับตนเองด้วย ความยุติธรรมจึงเป็นคุณธรรมที่สำคัญของการเจริญชีวิตจิต ในการมีความสัมพันธ์กับผู้อื่น

ความ ยุติธรรมในมุมมองนี้ คือ การมีสัมพันธภาพอย่างมีดุลยภาพที่ถูกต้อง สร้างสรรค์ และมีเสรีภาพ ในระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ มนุษย์กับธรรมชาติ และมนุษย์กับพระเจ้า / สิ่งสูงสุด

1.2  ประเภทความยุติธรรมในสังคม





ความยุติธรรมในสังคม ในมิติความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ และในระดับสังคมประเทศชาติ แบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ

1.2.1  ความยุติธรรมในการแลกเปลี่ยน (Commutative Justice /      Reciprocal Justice) เป็นความยุติธรรมที่อยู่ในความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล หรือกลุ่ม ที่มีข้อตกลงระหว่างกัน บนความถูกต้องและเท่าเทียมกัน
1.2.2  ความยุติธรรมในการแบ่งปัน (Distributive Justice) เป็น ความยุติธรรมที่อยู่ในความสัมพันธ์ของสังคมใหญ่ ที่มีส่วนช่วยเหลือและแบ่งปันทรัพย์สิน ความมั่งคั่ง วิทยาการต่างๆ แก่ภาคส่วนอื่นๆ ของสังคม โดยมีหลักคิดว่าทุกคน      ต้อง มีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ และมีโอกาสเข้าถึงผลประโยชน์ส่วนรวมของสังคม อย่างเท่าเทียมกัน ความยุติธรรมในการแบ่งปันนี้ มีพื้นฐานความคิดมาจากเรื่องความดีของส่วนรวมหรือคุณประโยชน์ของส่วนรวม (Common Good) ซึ่งถ้าผนวกกับคำสอนของพระเยซูเจ้าในพระวรสารนักบุญมัทธิว 5:40-42 ความยุติธรรมในการแบ่งปันนี้มีความหมายที่ลึกซึ้งกว่า นั่นคือ การแบ่งปันตาม  ความ จำเป็นของผู้รับ กล่าวคือ ผู้ที่มีความจำเป็นมากกว่าต้องได้รับส่วนแบ่งมากกว่า และที่สำคัญที่สุดคือ เป็นความรับผิดชอบของผู้ที่มีมากกว่าต่อผู้ที่มีน้อยกว่า ความยุติธรรมในลักษณะนี้เป็นบ่อเกิดแห่งความยุติธรรมในสังคม
1.2.3  ความยุติธรรมในทางกฎหมาย (Legal Justice) เป็น ความยุติธรรมที่อยู่ในการดำรงความสัมพันธ์ที่ถูกต้องของบุคคล ระหว่างบุคคล กลุ่มบุคคลต่างๆ ในทุกภาคส่วนของสังคม และในสังคมใหญ่ความยุติธรรมในสังคมต้องมีองค์ประกอบของความยุติธรรมทั้ง 3 ประการ นี้ จึงสรุปได้ว่า ความยุติธรรมในสังคมคือ การที่มนุษย์ยอมรับกัน เคารพและปฏิบัติต่อกันและกัน เพื่อนำมาซึ่งความยุติธรรมในการแบ่งปัน การช่วยเหลือกัน อันจะทำให้มนุษย์ดำรงชีวิตอย่างสมบูรณ์ ทั้งในด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และวัฒนธรรม  

2.  พื้นฐานแนวคิดความยุติธรรมในสังคม


ความยุติธรรมในสังคมมีรากฐานมาจากการไขแสดงของพระเจ้าในคริสตศาสนา โดยทางพระคัมภีร์ และจากคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร
2.1  พระธรรมเดิม




2.1.1  งานสร้างมนุษย์ “ให้ เราสร้างมนุษย์ตามฉายาตามอย่างของเรา ให้ครอบครองฝูงปลาในทะเล ฝูงนกในอากาศและฝูงสัตว์ ให้ปกครองแผ่นดินทั่วไป และสัตว์ต่างๆ ที่เลื้อยคลานบนแผ่นดิน พระจึงทรงสร้างมนุษย์ขึ้นตามฉายาของพระองค์ ตามพระฉายาของพระเจ้านั้น พระองค์ทรงสร้างมนุษย์ขึ้น และได้ทรงสร้างให้เป็นชายและหญิง” (ปฐก 1:26-27)


ก.  มนุษย์มีเกียรติและมีศักดิ์ศรี:
ให้เราสร้างมนุษย์ตามฉายา ตามอย่างของเรา เพราะมนุษย์....

·         มีจิตวิญญาณ มีความเป็นอมตะ-ความไม่มีขอบเขต
·         มีสติปัญญา มีความคิดสร้างสรรค์
·         มีอิสระภาพ อำเภอใจ น้ำใจ ความรัก
·         รู้จักใช้เหตุผล มีวิจารณญาณ มีมโนธรรมสำนึก ความรับผิดชอบ
·         มีขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม ภาษา และความเชื่อ
เอกลักษณ์ และคุณลักษณะเด่นๆ เหล่านี้ เป็นการแบ่งปันชีวิตของพระเจ้าให้แก่มนุษย์ทำให้แตกต่างจากสรรพสิ่ง สรรพสัตว์ และทำให้มีเกียรติและมีศักดิ์ศรีที่เท่าเทียมกัน เป็นสิ่งสร้างที่ประเสริฐที่สุดในบรรดาสิ่งสร้างทั้งหลาย มนุษย์จึงต้องเคารพศักดิ์ศรียกย่องและให้เกียรติแก่กันและกัน

ข.  พระเจ้าทรงมอบหมายหน้าที่ให้แก่มนุษย์ พระองค์ทรงให้เกียรติแก่มนุษย์ในการครอบครองและปกครอง.... ให้ครอบครอง.... และปกครอง...

·         มนุษย์ต้องทำงาน – หน้าที่ การงานจึงนำมาซึ่งเกียรติและทำให้ชีวิตมนุษย์มีคุณค่า ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม ในหน้าที่การงานที่มนุษย์ทำนี้ยังหมายถึงการสานต่องานสร้างของพระเจ้า
·         พระ เจ้าประทานทรัพยากรให้แก่มนุษย์ทุกคน ทุกคนมีสิทธิในการครอบครองและปกครอง จึงต้องมีการแบ่งปันทรัพยากรแก่กันและกัน พร้อมกับเคารพสิทธิของกันและกัน
·         การครอบครองและการปกครองสิ่งสร้างนั้น มิใช่ลักษณะของการเอาเปรียบธรรมชาติ ใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างสุรุ่ยสุร่าย – ไม่บันยะบันยัง – ไม่ เคารพธรรมชาติ แต่มนุษย์ต้องมีท่าทีของการเคารพธรรมชาติและบำรุงรักษาธรรมชาติ เพื่อการดำรงชีวิตอยู่อย่างเกื้อกูลกันและกัน และส่งเสริมกันและกัน

ค.  ความเสมอภาคในความเป็นมนุษย์ – ในเกียรติและศักดิ์ศรีของชายและหญิง “ทรงสร้างให้เป็นชาย และเป็นหญิง

·         ไม่ใช่ชายใหญ่ (สูง) กว่าหญิง หรือหญิงใหญ่ (สูง) กว่าชาย
·         ความเป็นชายและความเป็นหญิง เป็นคุณค่าที่เสริมสร้าง – เกื้อกูลกันและกันในการดำรงชีวิต และเติมชีวิตให้สมบูรณ์
·         มนุษย์ทุกคนเป็นบุตรของพระเจ้า เป็นพี่น้องร่วมในองค์พระบิดาเดียวกัน
ความ ยุติธรรมมีรากฐานมาจากการเคารพในเกียรติและศักดิ์ศรีของบุคคล มาจากการเคารพและตระหนักว่าทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับในสิ่งที่เขาต้องการหรือ มีความจำเป็นในการดำรงชีวิต และมาจากการเคารพว่าทุกคนมีเอกสิทธิ์ในการตัดสินใจด้วยตนเองที่จะดำเนิน ชีวิต
2.1.2  พระเจ้าเปิดเผยตัวพระองค์เป็นผู้ปลดปล่อยผู้ถูกกดขี่เมื่อมีการกระทำที่อยุติธรรม
พระเจ้าตรัสว่า “เรา เห็นความทุกข์ของประชากรของเราที่อยู่ในประเทศอียิปต์แล้ว เราได้ยินเสียงร้องของเขา เพราะการกดขี่ของพวกนายงาน เรารู้ถึงความทุกข์ร้อนต่างๆ ของเขา เราลงมาเพื่อจะช่วยเขาให้รอดจากมือชาวอียิปต์ และนำเขาออกจากประเทศนั้น ไปยังแผ่นดินที่อุดมกว้างขวาง เป็นแผ่นดินที่มีน้ำนม และน้ำผึ้งไหลบริบูรณ์...........” (อพย 3:7-10)
2.1.3   พระคัมภีร์ได้อธิบายความยุติธรรมว่าเป็นธรรมชาติของพระเจ้า
·         “เพราะพระเจ้า เป็นพระเจ้าแห่งความยุติธรรม” (อสย 30:18)
·         “เพราะทรงให้ความยุติธรรมและความเที่ยงตรงแก่ข้าพระองค์” (สดด 9:4)
ความ ยุติธรรมมิใช่เป็นเรื่องของนามธรรม ประชากรชาวอิสราเอลมีประสบการณ์กับธรรมชาติและกิจการการปลดปล่อยของพระเจ้า จำต้องสนองตอบด้วยการมีความเชื่อและปฏิบัติความยุติธรรมต่อเพื่อนบ้านด้วย เช่น ฉลบ 24:14-15, สดด 106:3และ อสย 58:6-10

2.2  พระธรรมใหม่





2.2.1  พันธกิจการไถ่กู้ของพระเยซูเจ้า “พระ จิตของพระเจ้าทรงอยู่เหนือข้าพเจ้า เพราะพระองค์ทรงเจิมข้าพเจ้าไว้ ให้ประกาศข่าวดีแก่คนยากจน ทรงส่งข้าพเจ้าไปประกาศการปลดปล่อยแก่ผู้ถูกจองจำ คืนสายตาให้แก่คนตาบอด ปลดปล่อยผู้ถูกกดขี่ให้เป็นอิสระ ประกาศปีแห่งความโปรดปรานจากพระเจ้า”(ลก4:18-19)

2.2.2  พระเยซูเจ้าทรงรวมมนุษย์ให้เป็นหนึ่งเดียวกับพระเจ้าและกับเพื่อนมนุษย์ ด้วย ชีวิตและงานประกาศข่าวดี ทรงถวายตัวพระองค์ทั้งครบแด่พระบิดาเจ้าเพื่อการปลดปล่อยมนุษย์ และดำเนินชีวิตเป็นหนึ่งเดียวกับพี่น้องผู้ต่ำต้อยที่สุด “เราบอกความจริงแก่ท่านทั้งหลายว่า ท่านทำสิ่งใดต่อพี่น้องผู้ต่ำต้อยที่สุดของเราคนหนึ่ง ท่านก็ทำสิ่งนั้นต่อเรา” (มธ 25:40) และทรงสอนให้มนุษย์มีความยุติธรรมต่อสังคมการเมือง “ของของซีซาร์ จงคืนให้ซีซาร์ และของของพระเจ้า ก็จงคืนให้พระเจ้าเถิด” (มธ 22:21)
2.2.3  พระเยซูเจ้าทรงประกาศบทบาทของพระเจ้าในวิถีชีวิตของมนุษย์ เพื่อให้เกิดความยุติธรรมสำหรับผู้ขัดสนและผู้ถูกกดขี่ ในธรรมเทศนาบทแรกของพระองค์ (ลก 6:21-23)
2.2.4  นักบุญเปาโล สอน ให้คริสตชนเจริญชีวิตในความเชื่อที่แสดงออกมาด้วยการปฏิบัติตนต่อผู้อื่น ด้วยหัวใจที่รักรับใช้ ซึ่งหมายถึงการยอมรับในศักดิ์ศรีและสิทธิของผู้อื่น ยิ่งคริสตชนแสดงความรักและการรับใช้ผู้อื่นมากเท่าใด ก็จะค้นพบอิสรภาพและความปิติสุขภายในใจมากขึ้นเท่านั้น พร้อมทั้งสามารถช่วยเหลือผู้อื่นให้พบกับอิสรภาพและการหลุดพ้นจากความ ทุกขเวทนาต่างๆ มากขึ้นด้วย การเจริญชีวิตคริสตชนด้วยความรักและการรับใช้นี้ จะทำให้ความยุติธรรมสมบูรณ์ (ยล34)

2.3   คำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร

2.3.1  พระธรรมนูญว่าด้วยพระศาสนจักรในโลกสมัยนี้ (Gaudium et Spes 1965)
ก. พระศาสนจักรต้องเอาใจใส่ต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม และเป็นหนึ่งเดียวกันกับครอบครัวมนุษย์ “ความ ชื่นชมและความหวัง ความโศกเศร้า และความกังวลของมนุษย์ ในสมัยนี้ เป็นต้นของคนยากจน และผู้มีความทุกข์เข็ญทั่วไป ย่อมถือว่าเป็นความชื่นชมและความหวัง เป็นความโศกเศร้าและความกังวลของผู้เป็นศิษย์ของพระคริสตเจ้าด้วย” (ศลน 1)



ข. เป็นสิทธิและความรับผิดชอบของศิษย์ที่ติดตามพระคริสต์ จำต้องทำงานปกป้องศักดิ์ศรีของแต่ละบุคคลอย่างเข้มแข็ง (ศลน 3) และใช้พรสวรรค์อันเป็นของประทาน เพื่อรับใช้ซึ่งกันและกัน (ศลน 7) ทั้งนี้ ไม่ใช่ปัจเจกบุคคลเท่านั้น ที่ได้รับความรอด แต่ทุกคนได้รับความรอดในองค์พระคริสต์ “ขอให้แต่ละคนถือว่าเพื่อนมนุษย์ โดยไม่ยกเว้นแต่คนเดียวเป็นตัวของตนอีกคนหนึ่ง” ก่อน อื่นให้คำนึงถึงชีวิตของเขาและปัจจัยที่เขาจำเป็นต้องมีเพื่อดำรงชีวิตอย่าง สมควร เราต้องทำตัวของเราเป็นเพื่อนมนุษย์ของคนทุกคน ต้องรับใช้เขาอย่างแข็งขัน ไม่ว่าเป็นคนชรา ที่ใครๆ ทอดทิ้ง กรรมกรต่างชาติที่ถูก ดูหมิ่น.... คนถูกเนรเทศ.... เด็กที่เกิดจากพ่อแม่ไม่ได้สมรสกันตามกฎหมาย... ไม่ว่าจะเป็นคนหิวโหย... ขอให้เราระลึกถึงพระวาจาของพระคริสตเจ้าที่ว่า “เราบอกความจริงแก่ท่านทั้งหลายว่า ท่านทำสิ่งใด ต่อพี่น้องผู้ต่ำต้อยที่สุดของเราคนหนึ่ง ท่านก็ทำสิ่งนั้นต่อเรา” (มธ 25:40)  (ศลน 27)

2.3.2  เอกสารความยุติธรรมในโลก (Justice in the World 1971) สมัชชา พระสังฆราช ถือเป็นหน้าที่ของพระศาสนจักรในการส่งเสริมความยุติธรรม โดยยืนยันว่า การปฏิบัติความยุติธรรมและการมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงโลกเป็นมิติหนึ่ง ที่เป็นองค์ประกอบของการประกาศพระวรสาร (ยล 6) กล่าว อีกนัยหนึ่งคือ ภารกิจการช่วยให้รอดของพระศาสนจักร มิได้จำกัดแต่การช่วยด้านชีวิตฝ่ายวิญญาณ แต่ต้องเข้าไปมีส่วนในการเปลี่ยนแปลงชีวิตมนุษย์ฝ่ายโลก กล่าวคือ ด้านสังคม การเมือง และเศรษฐกิจด้วย
2.3.3  สมณสาสน์การเฉลิมฉลองปีที่หนึ่งร้อย (Centesimus Annus 1991) พระศาสนจักรยืนยันว่า ในการส่งเสริมความยุติธรรมจำต้องอาศัยความรัก “เป็นความรักที่มีต่อผู้อื่น เฉพาะอย่างยิ่งเป็นความรักต่อคนจน ซึ่งพระศาสนจักรมองเห็นพระคริสตเจ้าในบุคคลเหล่านั้น” (ฉปร 58)
2.3.4  สารวันสันติสากลประจำปี (Message on Day of Peace) สันติภาพเกิดจากการถือความยุติธรรม “ไม่ มีสันติภาพ หากไม่มีความยุติธรรม และจะไม่มีความยุติธรรม หากไม่มีการให้อภัย... สันติภาพที่แท้จริงคือ ผลพวงของความยุติธรรมโดยมีคุณธรรม ศีลธรรมและหลักประกันทางกฎหมาย เป็นสิ่งช่วยให้มั่นใจได้ว่าจะมีการเคารพสิทธิและความรับผิดชอบอย่างครบถ้วน และจะมีการกระจายผลประโยชน์และภาระต่างๆ อย่างเป็นธรรม... ความยุติธรรมที่สมบูรณ์จึงต้องประกอบด้วยการให้อภัย ซึ่งจะช่วยสมานแผลให้หายสนิท และฟื้นฟูความสัมพันธ์อันร้าวฉานของมนุษย์ให้กลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวได้อย่าง จริงจัง” (สส 2002 ข้อ 15, คำสอนด้านสังคมฯ ภาคอ้างอิง หน้า 190)

3. งานของพระศาสนจักรที่ส่งเสริมความยุติธรรมในสังคม




ในบทสอนของนักบุญเปาโล เกี่ยวกับความรักและความยุติธรรม เป็นคุณธรรม 2 ประการ ที่แยกออกจากกันไม่ได้ในพันธกิจส่งเสริมความยุติธรรมในสังคม ความรักและความยุติธรรมสะท้อนความสัมพันธ์ของศาสตร์ความรักและความเมตตา กับจริยธรรมทางสังคมของคริสตชน ซึ่งปรากฏเด่นชัดในพันธกิจของพระศาสนจักร 2 ประการคือ

3.1 งานสังคมสงเคราะห์ (Social Service / love / charity) งาน ในลักษณะนี้ ตอบสนองต่อผู้ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาที่เกิดขึ้น เป็นงานที่อยู่ในมิติของความสนใจ ความห่วงใจ ความสงสาร มีเมตตาธรรม และแสดงออกโดยการช่วยเหลือคนที่เดือดร้อน คนยากจน ผู้ตกทุกข์ได้ยาก ผู้ด้อยโอกาส เช่น การให้อาหารแก่ผู้ที่หิวโหย การบริจาคเสื้อผ้าข้าวของเครื่องใช้ หรือการไปเยี่ยมเยียนผู้ต้องขัง การดูแลเด็กกำพร้า ผู้เจ็บป่วยและคนชรา เป็นต้น
3.2  งานพัฒนาสังคม (Social Action / justice) งาน ในลักษณะนี้ เป็นการศึกษาเชิงปฏิบัติการ เพื่อแก้ไขต้นเหตุของปัญหา เป็นพันธกิจที่ช่วยกันแก้ไขโครงสร้างสังคมที่ไม่เป็นธรรม เน้นหนักไปที่การค้นพบต้นเหตุของความทุกข์ยาก ที่เกิดขึ้นกับประชาชนอย่างต่อเนื่อง หรือที่เรียกว่าความอยุติธรรมในสังคม และนำไปสู่การแสวงหาแนวทางเพื่อการเยียวยา การแก้ไขต้นเหตุและปัจจัย ที่สร้างความอยุติธรรมนั้นๆ พร้อมกับวางแผนงานพัฒนาชุมชนอย่างเป็นกระบวนการและต่อเนื่อง โดยเน้นการพึ่งตนเองและการพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นสำคัญ
อัน ที่จริงแล้ว งานสังคมสงเคราะห์ งานพัฒนาสังคม และงานส่งเสริมความยุติธรรมในสังคม เป็นงานสามประสานที่เกื้อกูลและเสริมสร้างกันและกัน โดยมีจุดมุ่งหมายร่วมกันที่ต้องการปลดปล่อยให้ตัวบุคคลหรือกลุ่มชนให้เป็น อิสระจากความทุกข์เข็ญในด้านต่างๆ ดังนั้นในขณะที่เราทำงานสังคมสงเคราะห์ เราก็เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาจำเป็นพื้นฐาน ตัวอย่างเช่น เมื่อคนๆ หนึ่งเดินเข้ามาในบ้านของเรา และขออาหาร เพราะเขาตกงาน และเราให้อาหารเขาต่อมาก็หางานให้เขาทำ (เพราะเขาตกงาน) นั่นก็เท่ากับว่า เราทำงานสงเคราะห์และงานส่งเสริมความยุติธรรมในเวลาเดียวกัน
งาน ส่งเสริมความยุติธรรมเป็นเครื่องมือที่ช่วยคนจน ผู้ด้อยโอกาสหรือผู้ถูกกระทำให้เข้าใจว่า สังคมมีโครงสร้างที่ไม่เป็นธรรมอย่างไร โครงสร้างนั้นส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของพวกเขาอย่างไร และจะร่วมมือกันพัฒนาชุมชนหรือสังคมให้เกิดความยุติธรรมด้วยจิตตารมณ์ของ ความรักและการรับใช้ ทั้งในเชิงโครงสร้างและการอยู่ร่วมกันได้อย่างไร นอกจากนี้ ความยุติรรมยังเป็นเครื่องมือที่ช่วยคนจนให้มีประสบการณ์ตรงกับพระเจ้า ว่าพระองค์ทรงดำรงอยู่เคียงข้างผู้ต่ำต้อยเสมอ

4.  การศึกษามีความสำคัญต่อการส่งเสริมความยุติธรรมในสังคมได้อย่างไร


4.1  ความยุติธรรมแบบปัจเจก
ปัญหา ทุกวันนี้ คนไม่เชื่อว่าความยุติธรรมเป็นสิ่งสำคัญ ที่เราต้องต่อสู้เพื่อให้ได้มา เพราะสังคมปัจจุบันให้ความสำคัญมากต่อการคำนึงถึงประโยชน์ส่วนตัว หรือสิ่งที่ตนเองพึงได้รับ มากกว่าความเห็นอกเห็นใจและการช่วยเหลือเกื้อกูล ความยุติธรรมในสังคมปัจจุบัน เป็นผลสะท้อนสังคมแบบปัจเจกนิยม เป็นความยุติธรรมแบบอัตตา เช่น จะยุติธรรมก็ต่อเมื่อฉันเป็นฝ่ายได้ก่อนคนอื่น ได้มากกว่าคนอื่น หรือจะยุติธรรม ก็ต่อเมื่อฉันเสียน้อยกว่าคนอื่น ซึ่งพอสรุปได้ว่า ความเข้าใจเรื่องความยุติธรรมแบบปัจเจกนี้ เป็นผลมาจากการศึกษา และระบบการเรียนการสอนที่ปลูกฝังเรื่องการแข่งขัน กล่าวคือ ต้องได้ดีกว่าคนอื่น ต้องเก่งกว่าคนอื่น ต้องมีความสามารถกว่าคนอื่น ซึ่งเป็นการหล่อหลอมวิธีคิด และการปฏิบัติเพื่อประโยชน์ของตนเองก่อน คนอื่นทีหลัง


4.2  สถานศึกษา / โรงเรียน เป็นกลไกของสังคมที่มีหน้าที่สำคัญ คือ

4.2.1  เป็น สถาบันที่หล่อหลอมความคิด และประสบการณ์ชีวิตเข้าด้วยกัน กลายเป็นองค์ความรู้ที่สั่งสมมาตามวุฒิภาวะ อันจะเป็นพื้นฐานของการสร้างอุดมการณ์และบุคลิกภาพในชีวิต
4.2.2  ปลูก ฝังคุณธรรม สร้างมโนธรรม อบรมบ่มนิสัยและขัดเกลาชีวิตของผู้เรียนให้เป็นคนดี มีจริยธรรม มีความสุข มีความสำนึกดีต่อผู้อื่น ต่อสิ่งแวดล้อม ต่อสังคม ยืนหยัดอยู่บนความถูกต้องและเคารพในศักดิ์ศรี และความต่างของกันและกัน
4.2.3  สร้าง บรรยากาศแห่งการอยู่ร่วมกันฉันพี่น้องในครอบครัวเดียวกัน มีความอบอุ่น มีความรัก ความเอื้ออาทร เห็นอกเห็นใจและช่วยเหลือผู้อื่น และร่วมกันพัฒนาศักยภาพและบุคลิกภาพของผู้เรียนและบุคลากรในสถานศึกษา
4.2.4  สถานศึกษา / โรงเรียน คาทอลิก จึงเป็นกระบวนการหล่อหลอมชีวิตมุ่งสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ซึ่งถือเป็นพันธกิจสำคัญในการร่วมงานกับพระเจ้า พระผู้สร้างในงานเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนตามวัยและวุฒิภาวะ

4.3  การให้การศึกษาเพื่อส่งเสริมความยุติธรรมในสังคมของสถานศึกษา

4.3.1  การ ให้การศึกษาเรื่องความยุติธรรม เป็นการให้ความสำคัญต่อศักดิ์ศรีและคุณค่าของชีวิตมนุษย์ รวมถึงสิทธิของความเป็นมนุษย์ (สิทธิมนุษยชนศึกษา) ทั้งของตนเองและของผู้อื่น มีสิทธิเท่าเทียมกัน มีความเสมอภาคและอยู่ร่วมกันด้วยความเคารพ มีเมตตาธรรมและช่วยเหลือเกื้อกูลกัน อันจะนำมาซึ่งความผาสุก ทั้งในชีวิตส่วนตัว ส่วนร่วมและสังคมวงกว้าง
4.3.2  การ ศึกษาเรื่องความยุติธรรมในสังคม ควรมุ่งกระตุ้นให้ผู้เรียนมีชีวิตชีวา รู้จักคิด วิเคราะห์ แยกแยะ และประมวลสรุปเป็นแนวทางหรือหลักปฏิบัติเพื่อกระทำกิจกรรมสรรค์สร้างชีวิต ที่ดีงามอย่างมีพลังต่อไป ในช่วงวัยแห่งการศึกษานี้ ผู้เรียนควรผ่านประสบการณ์แห่งการตอบสนองต่อสถานการณ์ทางสังคม รู้จักวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ มีความเข้าใจถึงวิกฤตด้านศีลธรรมและชีวิตจิต และมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคมตามวุฒิภาวะและในสถานการณ์ที่เหมาะสม กล่าวโดยสรุป การศึกษาเพื่อความยุติธรรมในสังคม คือ การศึกษาเพื่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมให้ดีขึ้น
Brien Wren นักการศึกษา ได้กล่าวถึงความสำคัญของการศึกษาเพื่อส่งเสริมความยุติธรรมในสังคมว่า มีคำกล่าวในอดีตดังนี้ “(ฉัน) ได้ยิน แล้วก็ลืม (ฉัน) เห็น แล้วก็จำ แต่หากฉันทำ ฉันก็เข้าใจ” การศึกษาที่นำความหวังมาสู่ชีวิตใหม่ คือ เราต้องเรียนรู้ความยุติธรรมจาก การกระทำ และปฏิบัติควบคู่ไปกับการไตร่ตรอง (Education for Justice, London:SCM Press 1977,P.11)

4.4  ข้อท้าทายต่อสถาบันการศึกษาคาทอลิก

4.4.1  สถาบัน การศึกษาคาทอลิก ต้องเป็นสนามชีวิตที่ให้การศึกษาเพื่อความยุติธรรมให้เป็นจริงเป็นจังมาก ขึ้น เป็นโอกาสให้ผู้เรียนได้สร้างความตระหนักและเข้าใจสาเหตุที่สลับซับซ้อนแห่ง ความทุกข์ยากของมนุษย์ เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันและเกราะป้องกันสำหรับผู้เรียนทุกคน ให้หลุดพ้นจากอคติ จากความคิดที่เลือกข้าง มองคนอื่นเป็นเขา มิใช่เรา อันเป็นผลมาจากความเป็นเลิศทางวิชาการ การแข่งขัน การชิงความได้เปรียบ และมองข้ามความสำคัญของผู้อื่นที่มีโอกาสน้อยกว่า ซึ่งเป็นผลพวงมาจากค่านิยมของทุนเสรีนิยมใหม่ในสังคมยุคปัจจุบัน
4.4.2  สถาบัน การศึกษาคาทอลิกเป็นสถานที่บ่มเพาะ ปลูกฝังมโนธรรมสำนึกทางสังคม และส่งเสริมการปฏิบัติความเมตตารักต่อผู้อื่น ซึ่งหมายถึงการปฏิบัติความยุติธรรมในสังคม เป็นสนามงานที่ฝึกปฏิบัติคุณธรรม จริยธรรมและการอยู่ร่วมกันฉันพี่น้องดุจครอบครัวใหญ่เดียวกัน โดยยึดจิตตารมณ์ของความรักและการรับใช้ และคุณประโยชน์ของส่วนรวมเป็นที่ตั้ง
ผล ที่เกิดขึ้นตามมาก็คือ เราจะมีผู้ปกครองที่รับผิดชอบต่ออนาคตของบุตรหลานอย่างมีสำนึก รู้เท่าทันและให้ความอบอุ่นในครอบครัว มีครูที่ไม่ใช้อคติต่อลูกศิษย์หรือเลือกปฏิบัติ แต่พร้อมที่จะอุทิศตนให้กับลูกศิษย์ทุกคน โดยเฉพาะผู้ที่มีโอกาสน้อยกว่า มีนายจ้างที่ดูแลเอาใจใส่ลูกจ้างและให้ค่าแรงอย่างเป็นธรรม มีนักวิชาชีพ เช่น แพทย์ที่มีความเมตตาและมนุษยธรรมในการรักษาผู้เจ็บป่วย มีนักบัญชีที่โปร่งใส ยึดความถูกต้องและเป็นธรรม มีวิศวกรที่ไม่แสร้งคำนวณผิด มีตำรวจที่ไม่มองผู้ต้องสงสัยว่าเป็นคนเลว มีบุคลากรของพระศาสนจักรที่กล้าดำเนินชีวิตอย่างเรียบง่าย รักความเป็นธรรมและอยู่เคียงข้างผู้ด้อยโอกาส มีพวกเราทุกคนที่เห็นอกเห็นใจผู้อื่น และยินดีช่วยเหลือทุกคนโดยไม่ลังเลใจ ฯลฯ

5.  ข้อเสนอเพื่อการพัฒนาการศึกษาเพื่อความยุติธรรม


5.1  กรอบความคิด เรามุ่งหวังให้ผู้เรียนได้บรรลุเป้าหมายที่จะปฏิบัติความยุติธรรมในสังคมดังนี้
5.1.1  ผู้เรียนมีความตื่นตัวถึงประเด็นปัญหาอยุติธรรมที่เกิดขึ้น (การรับรู้การสร้างความตระหนัก)
5.1.2  ผู้เรียนมีความสนใจ ห่วงใย และเห็นอกเห็นใจผู้ที่ประสบความอยุติธรรมมากขึ้น (อารมณ์ ความรู้สึก)
5.1.3  ผู้เรียนมีความมุ่งมั่นที่จะกระทำกิจการใดๆ เพื่อแก้ไขความอยุติธรรม (พฤติกรรม)


5.2  แนวทางที่เป็นไปได้ คือ

5.2.1  สนับ สนุนเรื่องความเป็นหนึ่งเดียวกัน โดยจัดให้มีกระบวนการเปลี่ยนจากตนเองสู่ผู้อื่น ดำรงชีวิตในความสัมพันธ์ที่ถูกต้องอย่างมีดุลยภาพกับผู้อื่น กับธรรมชาติ / สิ่งแวดล้อม และเป็นหนึ่งเดียวกับพระเจ้า / สิ่งสูงสุดที่ผู้เรียนนับถือ
5.2.2  ส่ง เสริมการศึกษาด้านสังคม โดยอาศัยการศึกษาข้อมูล ข่าวสาร ทางด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ศาสนา วัฒนธรรม ที่ส่งผลกระทบต่อชีวิต และคุณค่าความเป็นมนุษย์
5.2.3  จัดให้มีกระบวนการให้การศึกษาอบรมเพื่อปลุกจิตสำนึก และสร้างมโนธรรมที่ถูกต้องทางสังคม เช่น กระบวนการศึกษาความจริงและร่วมชีวิต (Exposure Immersion) สนับสนุนให้ผู้เรียนเข้าร่วมชมรม วาย ซี เอส ฯลฯ
5.2.4  สร้างชุมชนปฏิบัติความยุติธรรม โดยเริ่มจากในห้องเรียน สถานศึกษา / โรงเรียน และในสังคม
5.2.5  เป็นตัวแทนในระดับนโยบาย ด้วยการทำหน้าที่ เป็นปากเป็นเสียง แทนผู้ที่ไม่สามารถสะท้อนปัญหาของตนเองออกมาได้

5.3  เนื้อหาของคำสอนด้านสังคม ในการทำงานส่งเสริมความยุติธรรมในสังคม



5.3.1  ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
5.3.2  ความศักดิ์สิทธิ์ของชีวิต
5.3.3  ความเป็นครอบครัวและชุมชน
5.3.4  ความดีส่วนรวม หรือคุณประโยชน์ของทุกคน
5.3.5  สิทธิมนุษยชน / สันติภาพ
5.3.6  การอยู่เคียงข้างกับคนจน / ผู้ด้อยโอกาส
5.3.7  คนงานและสิทธิของคนงาน
5.3.8  ความร่วมมือช่วยเหลือกัน / ความเป็นปึกแผ่น
5.3.9  การเคารพในสิ่งสร้าง – ธรรมชาติ / สิ่งแวดล้อม
5.3.10  หัวใจของผู้สร้างสันติ